โครงการศึกษา
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) (2564)

- ที่มาความสำคัญ
เป็นการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ซึ่งมีเป้าหมายให้แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศมีระบบนิเวศและทัศนียภาพที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น และมีตัวชี้วัดสัดส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำและแหล่งน้ำที่ได้รับการฟื้นฟู (ร้อยละของพื้นที่เป้าหมาย) โดยภายในปี ๒๕๖๕ ให้ดำเนินการในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ความสำเร็จร้อยละ ๙๐ และตอบสนองต่อผลการประชุมสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำและแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ หากสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำได้รับความเสียหายจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ - วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อการจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
(๒) เพื่อจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ - ผลผลิตของโครงการ
๑) แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒) หลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓) รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ของประเทศไทย - ความร่วมมือ
– - พื้นที่ศึกษา
พื้นที่ตัวแทนพื้นที่ชุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๒ แห่ง คือ
๑) บึงราชนก จังหวัดพิษณุโลก
๒) อ่างเก็บน้ำหนองบัว จังหวัดมหาสารคาม - ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ - E-Mail/เว็บไซต์โครงการ
–
โครงการศึกษาและประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย (2563)

- ที่มาความสำคัญ
ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง แต่ก็ถูกทำลายไปมาก แรงขับเคลื่อนที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว คือการมุ่งพัฒนาประเทศโดยใช้ทรัพยากรเกินศักยภาพ ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของเมือง ทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบหลายประการจากการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การลักลอบตัดไม้ รวมถึง ภัยคุกคามที่ยังคงมีอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งภาวะมลพิษ การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น และในฐานะหน่วยประสานงานกลางระดับชาติ ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการดำเนินการศึกษาและประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ครอบคลุมทุกประเด็นในภาพรวมของประเทศ ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ สำนักงานนโยบายฯ จึงได้ดำเนินการศึกษาและประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญในภาพรวมของประเทศ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นลำดับแรกในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ จากการศึกษาจะทำให้มีข้อมูลสถานภาพปัจจุบันของความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์ และพันธุกรรม รวมถึง ชนิดพันธุ์ที่มีศักยภาพและประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และครอบคลุมประเด็นสถานการณ์และภัยคุกคามที่เป็นสาเหตุการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยผลการศึกษาจะได้ข้อมูลสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศที่เป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลในการจัดทำเครื่องมือทางนโยบายทางการบริหาร รวมถึง จัดทำ ปรับปรุงแผน มาตรการ กลไกในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์การดำเนินงานที่ตอบสนองการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ - วัตถุประสงค์
๑) เพื่อศึกษาและประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ และ ประเด็นสถานการณ์ ภัยคุกคามด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำนโยบายและแผน รวมถึงใช้เป็นข้อมูลประกอบในการปรับปรุงกลไก มาตรการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟู และติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศ บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
๒) เพื่อคาดการณ์สถานการณ์และแนวโน้มด้านการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพในอนาคต ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผนบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ - ผลผลิตของโครงการ
๑) ได้ข้อมูลสถานภาพและสถานการณ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศไทย
๒) ได้ข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำแผนบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ - ความร่วมมือ
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย(TEI) - พื้นที่ศึกษา
ทั่วประเทศไทย - ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ - E-Mail/เว็บไซต์โครงการ
–
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย: การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) ของประเทศไทย (2563)

- ที่มาความสำคัญ
เป็นการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยมีเป้าหมายให้แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศมีระบบนิเวศและทัศนียภาพที่ดี มีคุณภาพได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น และมีตัวชี้วัดสัดส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำและแหล่งน้ำที่ได้รับการฟื้นฟู (ร้อยละของพื้นที่เป้าหมาย) โดยภายในปี ๒๕๖๕ ให้ดำเนินการในพื้นที่ชุ่มน้ำ Ramsar site ความสำเร็จร้อยละ ๙๐ ซึ่งการดำเนินงานตอบสนองตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) ของประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำ ให้สามารถรักษาสมดุลและให้บริการทางระบบนิเวศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ - วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
(๒) เพื่อจัดทำรายงานแห่งชาติ ตามพันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
(๓) เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการทบทวนทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำ ขอบเขต มาตรการและกลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำจากการศึกษาที่ผ่านมา - ผลผลิตของโครงการ
(๑) แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) ของประเทศไทย
(๒) รายงานแห่งชาติอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
(๓) (ร่าง) ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำ ขอบเขต มาตรการและกลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ - ความร่วมมือ
– - พื้นที่ศึกษา
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์) ของประเทศไทย ๑๕ แห่ง ได้แก่ (๑) พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย (๒) พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง (๓) พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด (๔) พื้นที่ชุ่มน้ำปากน้ำกระบี่ (๕) พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย (๖) พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (พรุโต๊ะแดง) (๗) พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์ (๘) พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง-ปากแม่น้ำตรัง (๙) พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง (๑๐) พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา (๑๑) พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด (๑๒) พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง (๑๓) พื้นที่ชุ่มน้ำเกาะระ-เกาะพระทอง (๑๔) พื้นที่ชุ่มน้ำเกาะกระ (๑๕) พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง - ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ - E-Mail/เว็บไซต์โครงการ
–
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย (2562)

- ที่มาความสำคัญ
การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการดำเนินงาน ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ และเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการให้ความเห็นหรือการตัดสินใจต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตน - วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
(๒) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และขยายเครือข่ายพื้นที่ชุ่มน้ำในการติดตามสถานการณ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ
(๓) เพื่อพัฒนารูปแบบ เครื่องมือ กลไก หรือกระบวนการในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศโดยการมีส่วนร่วม
(๔) เพื่อพัฒนาเครื่องมี กลไก ด้านการติดตามสถานการณ์ การเผยแพร่ความรู้ และข้อมูลข่าวสารด้านพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ ที่มีความมันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน - ผลผลิตของโครงการ
(๑) แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำแบบมีส่วนร่วมของประเทศไทย
(๒) เว็บไซต์ http://wetlands.onep.go.th/ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารพื้นที่ชุ่มน้ำ และการติดตามสถานการณ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
(๓) เอกสารเผยแพร่ เรื่อง รู้ไว้ใช่ว่า…พื้นที่ชุ่มน้ำ - ความร่วมมือ
– - พื้นที่ศึกษา
พื้นที่นำร่อง ๒ กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ ๑ ได้แก่ (๑) พื้นที่ชุ่มน้ำแอ่งเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (๒) พื้นที่ชุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มที่ ๒ ได้แก่ (๑) พื้นที่ชุ่มน้ำบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (๒) พื้นที่ชุ่มน้ำหนองจำรุง จังหวัดระยอง (๓) พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม (๔) พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี - ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ - E-Mail/เว็บไซต์โครงการ
http://wetlands.onep.go.th
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย (2561)

- ที่มาความสำคัญ
การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินงานได้จริง ต้องมีการศึกษา ทบทวนทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ และระดับนานาชาติของประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ และวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ รวมทั้งมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เหมาะสมกับนโยบาย แผนงาน สถานการณ์ และทิศทางของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะมีความสำคัญในการบังคับใช้กฎ ระเบียบของแต่ละหน่วยงานให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันของประเทศไทย - วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อศึกษา ทบทวน และจัดทำเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันโดยกระบวนการมีส่วนร่วม
(๒) เพื่อจัดทำทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
(๓) เพื่อพัฒนากลไกในการบริหารจัดการ และการติดตามผลการดำเนินงานตามกลไกการบริหารจัดการที่ได้พัฒนาขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทย ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
(๔) เผยแพร่กระบวนการเรียนรู้ และความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำแก่ประชาชนทั่วไป - ผลผลิตของโครงการ
(๑) (ร่าง) หลักเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย
(๒) (ร่าง) ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทย
(๓) แผนที่ขอบเขตพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทย
(๔) (ร่าง) มาตรการและกลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและการติดตามตรวจสอบ
(๕) เอกสารเผยแพร่ เรื่อง รายงานสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย - ความร่วมมือ
– - พื้นที่ศึกษา
พื้นที่นำร่อง จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่
(๑) พื้นที่ชุ่มน้ำแอ่งเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
(๒) พื้นที่ชุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์
(๓) พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
(๔) พื้นที่ชุ่มน้ำหนองจำรุง จังหวัดระยอง
(๕) พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม
(๖) พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี - ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ - E-Mail/เว็บไซต์โครงการ
–