TH-BIF

🎊Celebrate the BIO DAY Series🥳🎉
“𝗕𝗲 𝗣𝗮𝗿𝘁 𝗼𝗳 𝘁𝗵𝗲 𝗣𝗹𝗮𝗻”
“ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแผน: สร้างความเป็นหุ้นส่วน สร้างความร่วมมือ มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน”

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพที่เข้าถึงได้มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ การมีข้อมูลเพื่อระบุภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถกำหนดความต้องการ จัดลำดับความสำคัญ วางแผนดำเนินการ ติดตามและรายงานผลการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และประเมินความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบัน คลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย (𝙏𝒉𝙖𝒊𝙡𝒂𝙣𝒅 𝑩𝙞𝒐𝙙𝒊𝙫𝒆𝙧𝒔𝙞𝒕𝙮 𝙄𝒏𝙛𝒐𝙧𝒎𝙖𝒕𝙞𝒐𝙣 𝙁𝒂𝙘𝒊𝙡𝒊𝙩𝒚: 𝙏𝑯-𝑩𝙄𝑭) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ ป้องกัน ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน มีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน มีการเชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 25 หน่วยงาน เชื่อมโยงฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้บริการข้อมูลพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ผู้เชี่ยวชาญ และการใช้ประโยชน์ และมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

มีระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อใช้เป็นฐานทรัพยากรชีวภาพในการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์ และการเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพในระดับชุมชน แสดงข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พื้นที่นำร่องที่มีความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวน 5 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่มรดกโลกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ทะเลสาบสงขลา และสถานตากอากาศบางปู สมุทรปราการ และพัฒนาแอปพลิเคชัน ในการสำรวจข้อมูลสิ่งมีชีวิตในพื้นที่นำร่องสำหรับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการดำเนินงานและบริหารจัดการข้อมูล สำหรับเป็นต้นแบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ และเพื่อเป็นฐานทรัพยากรในระดับชุมชนในระดับจังหวัด ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้ และใช้ประโยชน์ต่อยอดจากฐานทรัพยากรชีวภาพของคนในพื้นที่ รวมไปถึงเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิจัย นักวิชาการ และชุมชน สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและตัวอย่างความหลากหลายทางชีวภาพ และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อต่อยอดสร้างองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ตอบสนองพันธกรณีและความตกลงระหว่างประเทศ

สผ. ร่วมกับภาคีภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม จัดงานวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2567 ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง BCC Hall ชั้น 5 เซ็นทรัลลาดพร้าว

ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของแผนได้ มาเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
“B𝐈O𝐃I𝐕E𝐑S𝐈T𝐘 𝐈S O𝐔R L𝐈F𝐄: ความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ได้…เราอยู่รอด”

#BiodiversityDay #22พฤษภาคม #BiodiversityPlan
#วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ #PartOfThePlan
#ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแผน #ForNature #biodiversityisourlife

BIO DAYBIO DAY67