“ค้างคาวหน้ายักษ์เล็กสีเขม่า” ค้างคาวชนิดใหม่ของโลกในวงศ์ค้างคาวหน้ายักษ์

นักศึกษาและนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี ม.สงขลานครินทร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมมือกับนักวิจัยค้างคาวจาก 7 สถาบันทั่วโลกค้นพบและตั้งชื่อค้างคาวชนิดใหม่ในวงศ์ค้างคาวหน้ายักษ์ที่สำรวจพบจากป่าฮาลา-บาลา และป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส รวมทั้งตัวอย่างจากประเทศมาเลเซียด้วย

รูป (a) ♂PSUZC-MM2014.164 (holotype) จากจังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย ส่วนรูป (b–c) ♀PSUZC-MM.2014.165 จากจังหวัดยะลา ประเทศไทย ไม่ปรับขนาด

โดยตั้งชื่อว่า “𝐻𝑖𝑝𝑝𝑜𝑠𝑖𝑑𝑒𝑟𝑜𝑠 𝑘𝑖𝑛𝑔𝑠𝑡𝑜𝑛𝑎𝑒” เพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr. Tigga Kingston ผู้ก่อตั้งหน่วยวิจัยและอนุรักษ์ค้างคาวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEABCRU) และผู้นำเครือข่ายความหลากหลายของค้างคาวโลก (GBatNet) โดยค้างคาวชนิดใหม่นี้มีชื่อไทยว่า “ค้างคาวหน้ายักษ์เล็กสีเขม่า” ตามลักษณะของสีขน ค้างคาวชนิดนี้พบเพียงสองพื้นที่ในไทยเท่านั้นกับอีก 1 แห่งในคาบสมุทรมลายูของประเทศมาเลเซียและอีก 2 แห่งในรัฐซาบาห์ของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว แต่คาดว่าจะพบการกระจายของชนิดนี้เพิ่มขึ้นในอนาคตเมื่อมีการศึกษาตัวอย่างอ้างอิงเพิ่มเติม

นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังพบค้างคาวชนิด “𝐻𝑖𝑝𝑝𝑜𝑠𝑖𝑑𝑒𝑟𝑜𝑠 𝑒𝑖𝑛𝑛𝑎𝑦𝑡h𝑢” หรือ “ค้างคาวหน้ายักษ์เล็กพม่า” ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้พบการกระจายชนิดนี้ในประเทศพม่าเท่านั้น

สามารถศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mapress.com/zt/article/view/zootaxa.5277.3.1/50691?fbclid=IwAR3O9p5ZrrAWycGGqGxFhdq58UC9XvGwZpjQkGBONrA-jPkbZ1AIVlFkIZg

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล เพจ Princess Maha Chakri Sirindhorn Natural History Museum

https://www.facebook.com/psunhm/posts/pfbid0vZdUYXzWLKfFZgVADxWkryp84AEyQUjUNjLgRTPcxFzBoTF7pj4wSRFLM67vxGmZl