“ปูแสมบกโต๊ะแดง” ปูพันธุ์ใหม่ของโลก

นักวิจัยม.สงขลานครินทร์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจากพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารีฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Lee Kong Chian มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ บรรยายลักษณะและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ปูน้ำจืดชนิดใหม่ว่า Geosesarma todaeng
เพื่อสื่อความหมายถึงสถานที่พบปูชนิดนี้คือ บ้านโต๊ะแดง อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ซึ่งก่อนหน้านี้ปูสกุลนี้ในประเทศไทยมีรายงาน 2 ชนิด ได้แก่
ปูแสมภูเขา G. krathing แห่ง จ.จันทบุรี และ G. serenei จากจ.นครศรีธรรมราช

ปูแสมบกโต๊ะแดง ถูกค้นพบจากระบบนิเวศป่าพรุ โดยส่วนใหญ่พบตามต้นหลุมพี พรรณไม้ป่าพรุในวงศ์ปาล์ม หากดูแบบผิวเผินจะมีลักษณะคล้ายกับปูแสมภูเขาและสมาชิกอื่น ๆ ในสกุลนี้อีกหลายชนิด ที่มีลักษณะกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านบนกระดองครึ่งส่วนหน้าและก้ามมีสีเหลืองหรือส้ม ส่วนครึ่งส่วนหลังและขาเดินมีสีเข้ม
เป็นสีดำ เทา หรือน้ำตาล ลูกตาสีดำแซมด้วยลายจุดสีเทา เมื่อจำแนกจากลักษณะภายนอกของปูที่รยางค์ข้างปากที่ไม่มีแส้บนส่วนปลาย ขาเดินเรียวยาว
และอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ที่เรียวยาวและส่วนปลายแบนยาว สามารถจัดเข้าไว้ในกลุ่ม G. foxi species group ซึ่งมีแหล่งอาศัยเป็นพื้นที่สูง ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป จึงนับเป็นการค้นพบสมาชิกใน species group นี้ที่อาศัยอยู่ในป่าที่ราบต่ำใกล้ระดับน้ำทะเลเป็นครั้งแรก ลักษณะของปูแสบกโต๊ะแดงที่แตกต่าง
จากชนิดอื่น ๆ ใน species group คือ มีกระดองที่โค้งนูนชัดเจนเมื่อมองไปทางด้านหน้าปู ส่วนท้องปล้องที่ 6 เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และมีรายละเอียดของลักษณะ
อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้บางส่วนที่ต่างไป

สามารถศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tnh/article/view/258207

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล เพจ Princess Maha Chakri Sirindhorn Natural History Museum

https://www.facebook.com/psunhm/posts/pfbid02EBLK4UnQs7pM4RGwgVG17xgbw2e71sujPJvVqUpfPPe7u1qdjkvnV7hAWwKNotXVl