โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย (2562)

รายละเอียดโครงการ

  • ที่มาความสำคัญ
    การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการดำเนินงาน ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ และเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการให้ความเห็นหรือการตัดสินใจต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตน
  • วัตถุประสงค์
    (๑) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
    (๒) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และขยายเครือข่ายพื้นที่ชุ่มน้ำในการติดตามสถานการณ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ
    (๓) เพื่อพัฒนารูปแบบ เครื่องมือ กลไก หรือกระบวนการในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศโดยการมีส่วนร่วม
    (๔) เพื่อพัฒนาเครื่องมี กลไก ด้านการติดตามสถานการณ์ การเผยแพร่ความรู้ และข้อมูลข่าวสารด้านพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ ที่มีความมันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
  • ผลผลิตของโครงการ
    (๑) แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำแบบมีส่วนร่วมของประเทศไทย
    (๒) เว็บไซต์ http://wetlands.onep.go.th/ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารพื้นที่ชุ่มน้ำ และการติดตามสถานการณ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
    (๓) เอกสารเผยแพร่ เรื่อง รู้ไว้ใช่ว่า…พื้นที่ชุ่มน้ำ
  • ความร่วมมือ
  • พื้นที่ศึกษา
    พื้นที่นำร่อง ๒ กลุ่ม คือ
    กลุ่มที่ ๑ ได้แก่ (๑) พื้นที่ชุ่มน้ำแอ่งเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (๒) พื้นที่ชุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์
    กลุ่มที่ ๒ ได้แก่ (๑) พื้นที่ชุ่มน้ำบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (๒) พื้นที่ชุ่มน้ำหนองจำรุง จังหวัดระยอง (๓) พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม (๔) พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • ระยะเวลาดำเนินโครงการ
    ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
  • E-Mail/เว็บไซต์โครงการ