การประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2559
(15 กรกฎาคม 2559)
หัวข้อวาระ | มติที่ประชุม |
---|---|
เรื่องเพื่อทราบ | |
1. ผลการประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 2 | |
2. สถานภาพการดำเนินงานตามแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 | |
3. สถานภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับ (ร่าง) พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. …. | |
4. การดำเนินงานตามระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554 | |
เรื่องเพื่อพิจารณา | |
1. การเตรียมการด้านสารัตถะและพิธีการสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 13 และการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ สมัยที่ 8 | 2. เห็นชอบต่อประเด็นที่หยิบยกขึ้นกล่าวในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ติดตามรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาปรับแก้ไขประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นนำเสนอในการประชุมต่อไป 3. เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานเชิญภาคธุรกิจเข้าร่วมกิจกรรมสนับสนุนด้านวิชาการในกิจกรรม side event และ interactive fair ในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 13 |
2. การดำเนินการตามแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม | 1. พิจารณาเพิ่มเติมถึงความสอดคล้องของกฎหมายและกฎหมายลำดับรองของประเทศไทย ที่จะนำมาอนุวัตตามพันธกรณีของพิธีสารนาโงยาฯ และพิจารณามาตรการทางการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อประเมินว่าจะต้องจัดทำกฎหมายรองรับการดำเนินงานตามพิธีสารนาโงยาฯ เพิ่มเติมอีกหรือไม่ 2. หารือกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาบทบาทและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ในการดำเนินงานตามพิธีสารนาโงยาฯ 3. ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ให้พิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย กรณีการเข้าเป็นภาคีพิธีสารนาโงยาฯ ล่าช้า และกรณีการไม่เข้าเป็นภาคีพิธีสารดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในการพิจารณามาตรการทางกฎหมาย ให้จัดทำในรูปแบบของตารางวิเคราะห์พันธกรณีของพิธีสารฯ ตามข้อเสนอแนะของกระทรวงการต่างประเทศ |
3. การปรับปรุงทะเบียนรายการสถานภาพสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคามในประเทศไทย | 2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินงานตามความเห็นของคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้ 2.1 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำมาตรการในการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคามในประเทศไทย 2.2 พิจารณาจัดทำทะเบียนรายการสถานภาพสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ถูกคุกคามในประเทศไทย โดยจัดลำดับความสำคัญเพื่อดำเนินการในกลุ่มที่มีความสำคัญในลำดับต้น |