ความเป็นมา
การขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Park) อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมแห่งอาเซียนซึ่งเกิดจากการลงนามในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Declaration on Heritage Parks) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 ในการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของ ASEAN ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา
เกณฑ์การพิจารณาที่สำคัญ ดังนี้
- ความสมบูรณ์ทางนิเวศ (Ecological Completeness)
- ความเป็นตัวแทนของภูมิภาค (Representativeness)
- ความเป็นธรรมชาติ (Naturalness)
- ความสำคัญต่อการอนุรักษ์อย่างสูง (High Conservation Importance)
- มีขอบเขตทางกฎหมายที่กำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ (Legally Gazette Conservation Areas)
- แผนการบริหารจัดการที่ได้รับความเห็นชอบ (Approved Management Plan)
- ลักษณะเอกลักษณ์ (Uniqueness)
- ความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมกับระบบนิเวศ (High Ethno-Biological Significance)
- ลักษณะการข้ามพรมแดน (Transboundary)
- ความสำคัญสำหรับชนิดพันธุ์ต่างๆ (Importance for Species)
ปัจจุบันมีพื้นที่ซึ่งได้รับการประกาศเป็นอุทยานมรดกอาเซียนจำนวน 50 แห่ง แบ่งเป็น ทางบก 40 แห่ง และทางทะเล 10 แห่ง
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.aseanbiodiversity.org/the-ahp-programme/asean-heritage-parks/