ชนิดพันธุ์ที่มีความสำคัญในการนำมาใช้ประโยชน์

ชนิดพันธุ์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ

ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น

ชนิดพันธุ์พืช

  • วงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) ได้แก่ เอื้องนกแก้ว (Dendrobium cruentum Rchb. f.) แหล่งที่พบ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และชุมพร เอื้องฝาหอย (Paphiopedilum godefroyae (Dod.-Leb.) Pfitzer) แหล่งที่พบ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และชุมพร ชุมพร (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ๒๕๕๑) กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul (Ridl.) Rolfe) เอื้องและกุหลาบเหลืองกระบี่ (Aerides krabiensis Seidenf.) ต้นลังคาย (Pandanus calcis H. St.John ) กระเช้าหนู (Aristolochia helix Phuph.) แหล่งที่พบ พบเฉพาะเขตนิเวศของภูเขาหินปูน ในบริเวณภูมิภาคอ่าวพังงา และบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น โนรีเกาะช้าง (Hiptage monopteryx Sirirugsa) แหล่งที่พบ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่เกาะช้าง จังหวัดตราด และเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบชื้น ความสูงระดับต่ำ กะหนาย (Pterospermum littorale Craib bar. littorale) แหล่งที่พบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือป่าเบญจพรรณผสมและป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 100-1,000 เมตร ป่าละเมาะชายหาด ป่าชายหาด หรือตามร่องน้ำลำคลองที่ไม่ห่างจากฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังนับเป็นพืชหายากของไทยด้วย
  • วงศ์หญ้างวงช้าง (Boraginaceae) ได้แก่ งวงช้างทะเล (Heliotropium foertherianum Diane & Hilger) แหล่งที่พบ บริเวณอ่าวปาต๊อก เกาะราชาใหญ่ ตามสังคมพืชชายหาด ซึ่งมีการกระจายพันธุ์ ทางภาคใต้ฝั่งอันดามัน จังหวัดพังงา (หมู่เกาะสิมิลัน) จังหวัดกระบี่ (เกาะลันตาและเกาะรอกอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา) และจังหวัดภูเก็ต (เกาะราชา) มักพบตามสังคมพืชชายหาดที่เป็นหาดทรายบริเวณชายฝั่งและบนเกาะที่ไม่ถูกรบกวน ที่สูงใกล้ระดับน้ำทะเล
  • วงศ์จิก (Lecythidaceae) ได้แก่ จิกเล (Barringtonia asiatica (L.) Kurz) แหล่งที่พบ บริเวณเกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต

ชนิดพันธุ์สัตว์

  • สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ งูเขียวหางไหม้ลายเสือ (Trimeresurus purpureomaculatus)
    แหล่งที่พบ เขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง สตูล จิ้งจกนิ้วยาวอาจารย์ธัญญา (Cnemaspis chanardi) แหล่งที่พบ เขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ตรัง และสตูล จิ้งจกนิ้วยาวนิยมวรรณ (Cnemaspis niyomwanae) แหล่งที่พบ พบเฉพาะในเขตจังหวัดตรัง และสตูล

เห็นได้ว่า ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศเกาะ คือ พืชกลุ่มกล้วยไม้ ได้แก่ รองเท้านารีสีเหลือง โนรีเกาะช้าง เอื้องนกแก้ว เนื่องจากลักษณะของพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ในระบบนิเวศเกาะที่มีลักษณะทางกายภาพและธรณีวิทยาแตกต่างจากระบบนิเวศป่าไม้ชนิดอื่น ๆ เช่น ภูเขาหินปูนเหล่านี้มีลักษณะเป็นเขาหินลูกโดด (Habitat islands/inselberg) ซึ่งทำให้เกิดสภาพของระบบนิเวศอีกแบบที่ตัดขาดจากระบบนิเวศที่ล้อมรอบอยู่อย่างทันทีทันใด ไม่ได้เปลี่ยนค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย (Gradient) ลักษณะเช่นว่านี้ทำให้เกิดลักษณะแยกโดดเดี่ยว (Isolation) ของประชากรสิ่งมีชีวิตตามมา ซึ่งจะพบพืชชนิดที่เป็นพืชถิ่นเดียว (Endemic species) ในบริเวณนี้สูงมาก โดยเฉพาะกลุ่มพืชอิงอาศัย อาทิ กล้วยไม้ เฟิน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของป่าชายเลนในเขตภูเขาหินปูน

ชนิดพันธุ์หายาก/ชนิดพันธุ์ใหม่

  • หอยมรกต เป็นหอยต้นไม้หรือหอยทากในสกุล แอมฟิโดรมัส (Amphidromus) มีเปลือกสวยงาม และพบเฉพาะในป่าแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น จึงได้รับสมญานามว่า “อัญมณีแห่งป่า” (Gems of the forest) ซึ่งหอยทากในสกุลนี้ มีอยู่ประมาณ 80 ชนิด ทั่วโลก โดยพบในประเทศไทยถึง 1 ใน 4 และจากการศึกษาวิจัย พบว่า หอยสกุลนี้มีมาเกือบ 35 ล้านปีมาแล้ว หอยมรกตที่พบบนเกาะตาชัย เป็นหอยสปีชีส์ใหม่คือ แอมฟิโดรมัส แอตริคาโลสซัส คลาสซิอาเรียส (Amphidromus atricalossus classiarius) ซึ่งเป็นสปีชีส์ย่อยของหอยสปีชีส์ แอมฟิโดรมัส แอตริคาโลสซัส (Amphidromus atricalossus) ที่พบบนแผ่นดินใหญ่
  • ตะขาบม่วงสิมิลันเป็นชนิดพันธุ์ที่ถูกค้นพบในส่วนหนึ่งของในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์นานาชาติ และได้รับชื่อวิทยาศาสตร์พระราชทานว่า “สเตอโรพริสเทสไวโอลาเชียส” (Sterropristes violaceus Muadsub & Panha) ซึ่งถูกค้นพบโดยสาวิตรี หมวดทรัพย์ และ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา พบว่า อาศัยอยู่บนหมู่เกาะในทะเลอันดามันเท่านั้น เนื่องจากเป็นเกาะที่ถูกตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่มานานประมาณ 5,000 ปี ทำให้ตะขาบวิวัฒนาการจากตัวใหญ่เป็นตัวเล็กลงเพื่ออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีทรัพยากรจำกัด
  • ชนิดพันธุ์สำคัญที่ถูกคุกคามในระบบนิเวศเกาะ

สถานภาพสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามในระบบนิเวศเกาะ โดยใช้เกณฑ์การประเมินชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของสัตว์มีกระดูกสันหลังของประเทศไทย (Thailand Red Data: Vertebrate, 2017) และใช้เกณฑ์การประเมินชนิดพันธุ์หายาก และถูกคุกคามของประเทศไทย (Threatened Plants in Thailand, 2017) โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การจำแนกระดับความเสี่ยงของชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ของ IUCN (2001) version 3.1 ซึ่งสามารถจำแนกสถานการณ์ถูกคุกคาม ได้แก่ ชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (Extinct: EX) สูญพันธุ์ในธรรมชาติ (Extinct in the Wild: EW) ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered: CR) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered: EN) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened: NT) กลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) และข้อมูลไม่เพียงพอ (Data Deficient: DD) ทั้งนี้ การประเมินสถานภาพสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามในในระบบนิเวศเกาะตาม Thailand red data และ Threatened Plants in Thailand สรุปได้ ดังนี้

นอกจากนี้ ยังพบพืชที่มีการกระจายพันธุ์ในธรรมชาติน้อยมาก แต่ยังไม่มีการประเมินสถานภาพ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กระทิงหรือสารภีทะเล Calophyllum inophyllum L. พบน้อยมากในสภาพธรรมชาติ เนื่องจากถูกตัดฟันและพื้นที่ชายทะเลซึ่งเป็นถิ่นอาศัยถูกรบกวนเป็นประจำ และตะบัน Xylocarpus rumphii (Kostel.) Mabb. ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ที่พบเฉพาะตามชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะที่ไม่ถูกรบกวนเท่านั้น

ชนิดพันธุ์ที่มีความสำคัญในการนำมาใช้ประโยชน์

สัตว์น้ำขนาดเล็ก พบเห็นได้ยาก แต่ก็มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นที่สนใจของนักดำน้ำจากทั่วโลก เช่น กุ้งตัวตลก (Hymenoceridae) ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ (Solenostomus paradoxus) ทากเปลือยสกุล Thecacera เป็นต้น