เกี่ยวกับ EAAFP

EAAFP – Thailand

โครงการความร่วมมือพันธมิตรสำหรับการอนุรักษ์นกน้ำอพยพและการใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำอพยพอย่างยั่งยืนในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก – ออสเตรเลีย (Partnership for the Conservation of Migratory Waterbirds and the Sustainable Use of their Habitats in the East Asian – Australasian Flyway หรือ The East Asian- Australasian Flyway Partnership : EAAFP) เป็นหนึ่งในเก้าเส้นทางนกน้ำอพยพหลักที่สำคัญของโลก โดยเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลีย ทอดยาว จากรัสเซียตะวันออก (สหพันธรัฐรัสเซีย) และอลาสก้า (สหรัฐอเมริกา) ไปทางใต้ ผ่านเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปถึงเครือรัฐออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ครอบคลุม 22 ประเทศ

โดยเส้นทางการบินนี้เป็นที่อยู่ของนกน้ำอพยพมากกว่า 50 ล้านตัว จากประชากรนกกว่า 250 สายพันธุ์ รวมทั้งนกที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม 36 สายพันธุ์ และนกที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม 19 สายพันธุ์

ความร่วมมือนี้เกิดจากความสำเร็จของคณะกรรมการอนุรักษ์นกน้ำอพยพในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (Asia – Pacific Migratory Waterbirds Conservation Committee : MWCC) และยุทธศาสตร์การอนุรักษ์นกน้ำอพยพเอเชีย – แปซิฟิก (Asia-Pacific Migratory Waterbird Conservation Strategy : APMWCS) จากแผนการดำเนินงานสำหรับ นกเป็ด (Anatidae) นกกระเรียน (Crane) และนกชายเลน (Shorebird) ซึ่งแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการช่วยส่งเสริมและเป็นแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศ การประสานงาน ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์และปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญของนกน้ำอพยพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539

ต่อมารัฐบาลออสเตรเลีย และรัฐบาลญี่ปุ่น ร่วมกับองค์การพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติได้ยกร่างข้อตกลงโครงการความร่วมมือพันธมิตรการอนุรักษ์นกน้ำอพยพฯ ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2548 และได้มีการลงนามรับรองครั้งแรก ณ เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤศจิกายน 2549

ประเทศไทย คณะรัฐมนตรี มีมติ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 เห็นชอบดังนี้

  1. เห็นชอบในการรับรองข้อตกลงการเป็นพันธมิตรสำหรับการอนุรักษ์นกอพยพ EAAFP
  2. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานงานกลาง (Focal point)

Vision

นกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัยในเส้นทางพยพเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลียได้รับการยอมรับ และก่อให้เกิดการอนุรักษ์ เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษย์และความหลากหลายทางชีวภาพ

Mission

การดำเนินงานความร่วมมือและจัดทำกรอบการทำงาน เพื่อส่งเสริมการเจรจา ความร่วมมือ และการทำข้อตกลงระหว่างผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่มเพื่ออนุรักษ์นกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ EAAFP โดยมีเครือข่ายความร่วมมือและผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ governments, site managers, multilateral environment agreements, technical institutions, UN agencies, development agencies, industrial and private sector, academe, non-government organisations, community groups and local people.

Objectives

THE 5 OBJECTIVES OF EAAFP :
Objective 1 – พัฒนาเครือข่ายเส้นทางนกอพยพ ของพื้นที่ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ เพื่ออนุรักษ์นกน้ำอพยพ
โดยอาศัยบทเรียนของความสำเร็จจากยุทศาสตร์การอนุรักษ์นกน้ำอพยพภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (APMWCS)
Objective 2 – สนับสนุนการสื่อสาร การศึกษา และการสร้างจิตสำนึกของสาธารณชนให้เห็นถึงคุณค่าความสำคัญของนกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน
Objective 3 – สนับสนุนการศึกษาวิจัยและการติดตามในเส้นทางอพยพรวมทั้งเสริมสร้างความรู้และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของนกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัย
Objective 4 – เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านการบริหารจัดการนกน้ำอพยพและถิ่นที่ อยู่อาศัยให้แก่ผู้ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผู้มีอำนาจตัดสินใจ และผู้มีส่วนได้สวนเสียในระดับท้องถิ่น
Objective 5 – พัฒนาเส้นทางอพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดพันธุ์และถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญเพื่อนำไปสู่การยกระดับสถานภาพการอนุรักษ์นกน้ำอพยพ