กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
(Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework) หรือ Biodiversity Plan
กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: KM – GBF) ได้ถูกรับรองในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 ช่วงที่ 2 (CBD COP15 Part 2) เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 สำหรับเป็นแผนการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อนำไปสู่การบรรลุ พันธกิจ ค.ศ. 2030 (2030 Mission ) และวิสัยทัศน์ ปี ค.ศ. 2050 ให้ประชาคมโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กับการมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ หรือ Living in Harmony with Nature และหนึ่งปีต่อมา ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 สำนักเลขาธิการ CBD ได้เผยแพร่โลโก้ ‘The Biodiversity Plan’ หรือ ‘แผนงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก’ เพื่อใช้สื่อสารและเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับ KM-GBF
วิสัยทัศน์ปี ค.ศ. 2050
วิสัยทัศน์ของกรอบงานฯ กำหนดให้ประชาคมโลกมีชีวิตทีดีควบคู่ไปกับการมีธรรมชาติที่สมบูรณ์
(2050 vision)
“ภายในปี ค.ศ. 2050 ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการประเมินคุณค่า อนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด
รักษาบริการจากระบบนิเวศ โลกมีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน และส่งผ่านผลประโยชน์ที่สำคัญให้แก่ประชาชนทุกคน”
เป้าประสงค์ ค.ศ. 2050 (Global goals for 2050)
กรอบงานฯ ประกอบด้วย 4 เป้าประสงค์ระยะยาว สำหรับปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2050
เป้าประสงค์ A (Goal A)
เพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทุกระบบนิเวศ
เป้าประสงค์ B (Goal B)
ดํารงรักษาหรือเพิ่มพูนประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ
เป้าประสงค์ C (Goal C)
แบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม
เป้าประสงค์ D (Goal D)
แก้ปัญหาช่องว่างทางการเงินและแนวทางดําเนินงานอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ ปี 2050
พันธกิจปี ค.ศ. 2030
(2030 mission)พันธกิจของกรอบงานฯ กำหนดขึ้นสำหรับช่วงเวลาจากนี้ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ปี ค.ศ. 2050 คือ เร่งดำเนินการเพื่อหยุดยั้งการสูญเสียและนำความหลากหลายทางชีวภาพกลับคืนมา เพื่อให้ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนและโลก
โดยการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม
อย่างยุติธรรมและเท่าเทียมด้วยวิธีการดำเนินงานที่จำเป็นและเหมาะสม
23 เป้าหมาย ค.ศ. 2030 (23 Global Targets for 2030) คือเป้าหมายที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนภายใน ปี ค.ศ. 2030 เพื่อให้ผลการดำเนินงานนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกันตามเป้าประสงค์ ค.ศ. 2050 โดยกิจกรรมภายใต้แต่ละเป้าหมายควรมีการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ และพันธกรณีระหว่างประเทศอื่น ๆ ตลอดจนสถานการณ์ประเทศ ลำดับความสำคัญและเงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยแบ่ง 23 เป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มการดำเนินงาน
- กลุ่มที่ 1 (เป้าหมายที่ 1 – 8)
ลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Reducing threats to biodiversity) - กลุ่มที่ 2 (เป้าหมายที่ 9 – 13)
การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน (Meeting people’s needs through sustainable use and benefit-sharing) - กลุ่มที่ 3 (เป้าหมายที่ 14 – 23) เครื่องมือการแก้ปัญหาการดําเนินงานและการผลักดันให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกระแสหลัก (Tools and solutions for implementation and mainstreaming)
Target 1 | เป้าหมายที่ 1 การบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในการวางแผนเชิงพื้นที่ (Plan and Manage all Areas To Reduce Biodiversity Loss) มั่นใจว่า ทุกพื้นที่จะมีการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในแผนเชิงพื้นที่และ/หรือกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและทะเล ลดการสูญเสียพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพสูงและการสูญเสียระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์สูงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยต้องให้ ความเคารพในสิทธิของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น |
Target 2 | เป้าหมายที่ 2 ฟื้นฟูระบบนิเวศบนบก แหล่งน้ำในแผ่นดินและทะเลและชายฝั่ง อย่างน้อย 30% (Restore 30% of all Degraded Ecosystems) มั่นใจว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่บนบก แหล่งน้ำในแผนดิน พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งที่มี ระบบนิเวศเสื่อมโทรม จะได้รับการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ บทบาทหน้าที่ และบริการจากระบบนิเวศ รวมถึงเพิ่มความสมบูรณ์และการเชื่อมต่อทางนิเวศวิทยา |
Target 3 | เป้าหมายที่ 3 เพิ่มพื้นที่คุ้มครองทั้งบนบก แหล่งน้ำในแผ่นดิน ทะเลและชายฝั่งและพื้นที่ OECMs อย่างน้อย 30% (Conserve 30% of Land, Waters and Seas) มั่นใจและทำให้เป็นไปได้ว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่บนบก พื้นที่แหล่งน้ำในแผ่นดิน พื้นที่ทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และมีความสำคัญต่อบทบาทหน้าที่ และบริการจากระบบนิเวศ จะได้รับการอนุรักษ์และจัดการในรูปแบบพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่ที่มีมาตรการอื่น ๆ ด้านการอนุรักษ์ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในพื้นที่ที่เป็นตัวแทนทางนิเวศวิทยา มีการเชื่อมต่อที่ดี และมีระบบบริหารอย่างเป็นธรรม ตระหนักถึงอาณาเขตของชนพื้นเมืองและประเพณีเท่าที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ และพื้นที่เหล่านั้นจะถูกบูรณาการ เข้าสู่ภูมิทัศน์ทางบก ทางทะเล และมหาสมุทร เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามความเหมาะสมของพื้นที่ นั้น ๆ ตระหนักและเคารพสิทธิของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น รวมถึงอาณาเขตทางธรรมเนียมประเพณี ของชนและชุมชนเหล่านั้น |
Target 4 | เป้าหมายที่ 4 การฟื้นฟูและอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Halt Species Extinction, Protect Genetic Diversity, and Manage Human-Wildlife Conflicts) มั่นใจว่า จะต้องมีการจัดการอย่างเร่งด่วน เพื่อหยุดยั้งการกระทำของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคาม เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นคืนสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นกลับมา เพื่อลดความเสี่ยงการสูญพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนรักษาและฟื้นฟู ความหลากหลายทางพันธุกรรม ทั้งภายในและระหว่างประชากรของสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น สิ่งมีชีวิตป่า และสิ่งมีชีวิตเพาะเลี้ยง ในท้องถิ่น เพื่อให้ประชากรเหล่านั้นมีศักยภาพในการปรับตัว รวมถึงให้มีการอนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืนทั้งในและนอก ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่าอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความขัดแย้ง ในการอยู่ร่วมกัน |
Target 5 | เป้าหมายที่ 5 ลดการใช้ประโยชน์ชนิดพันธุ์ในธรรมชาติ (Ensure Sustainable, Safe and Legal Harvesting and Trade of Wild Species) มั่นใจได้ว่า การใช้ประโยชน์ การเก็บเกี่ยว และการค้าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติต้องเป็นไปอย่างยั่งยืน ปลอดภัย และถูกกฎหมาย รวมถึงต้องมีการป้องกันการใช้ทรัพยากรมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะรับได้ ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ และลดความเสี่ยงจากการหลุดรั่วของเชื้อโรค โดยนำวิธีการทางระบบนิเวศมาใช้ในการดำเนินงาน รวมถึงให้ความเคารพ และคุ้มครองการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นตามธรรมเนียมประเพณีอย่างยั่งยืน |
Target 6 | เป้าหมายที่ 6 การจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Reduce the Introduction of Invasive Alien Species by 50% and Minimize Their Impact) ขจัด บรรเทา ลด และ/หรือทำให้ผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่จะเกิดกับความหลากหลายทางชีวภาพและบริการ จากระบบนิเวศลดน้อยลง โดยการจำแนกและจัดการเส้นทางการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น การป้องกันและจัดลำดับความสำคัญ ของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ลดอัตราการนำเข้าและการตั้งถิ่นฐานของชนิดพันธุ์ที่มีศักยภาพเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานลง อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2030 และกำจัดควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในพื้นที่ที่มีความสำคัญสูง เช่น ระบบนิเวศเกาะ |
Target 7 | เป้าหมายที่ 7 การลดผลกระทบจากมลพิษ (Reduce Pollution to Levels That Are Not Harmful to Biodiversity) ลดความเสี่ยงจากมลพิษและผลกระทบเชิงลบของมลพิษจากทุกแหล่ง จนถึงระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ บทบาทหน้าที่และบริการจากระบบนิเวศ ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยพิจารณาจากผลกระทบสะสม ซึ่งประกอบด้วย การลดธาตุอาหาร ส่วนเกินที่สูญเสียไปกับสิ่งแวดล้อมลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง โดยการใช้ประโยชน์และหมุนเวียนธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ การลดความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีอันตรายลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง การใช้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management) การใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาดำเนินงาน การดำเนินงานตามความปลอดภัยทางอาหาร และการดำรงชีวิต รวมถึงป้องกัน ลด และดำเนินงานเพื่อขจัดมลพิษจากพลาสติก |
Target 8 | เป้าหมายที่ 8 การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Minimize the Impacts of Climate Change on Biodiversity and Build Resilience) การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะการเป็นกรดในมหาสมุทรเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ และการเพิ่มความยืดหยุ่นคงทนของระบบนิเวศ ผ่านกิจกรรมการบรรเทา การปรับตัว และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาและ/หรือใช้วิธีการทางระบบนิเวศเพื่อลดผลกระทบเชิงลบและผลักดันให้เกิด ผลเชิงบวกในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ |
Target 9 | เป้าหมายที่ 9 การจัดการชนิดพันธุ์ในธรรมชาติเพื่อสร้างผลผลิต การบริการ และใช้ประโยชน์จากฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน (Manage Wild Species Sustainably To Benefit People) มั่นใจได้ว่า การจัดการและการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมีความยั่งยืน เพื่อประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในสถานภาพเปราะบางและกลุ่มที่ต้องพึ่งพิงทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ สนับสนุนกิจกรรมที่มีฐานมาจากความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน สนับสนุนผลผลิต และบริการที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนคุ้มครองและสนับสนุนการใช้ประโยชน์ตามธรรมเนียม ประเพณีของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน |
Target 10 | เป้าหมายที่ 10 บริหารจัดการพื้นที่เกษตร ประมง และป่าไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Enhance Biodiversity and Sustainability in Agriculture, Aquaculture, Fisheries, and Forestry) มั่นใจได้ว่า พื้นที่การเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมงและป่าไม้ ได้รับการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผ่านการใช้ประโยชน์และวิธีปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การเกษตรแบบประณีตยั่งยืน (sustainable intensification) ระบบนิเวศเกษตร (agroecological) และแนวทางที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่นของระบบนิเวศในระยะยาว เพิ่มคุณภาพของผลผลิตและความปลอดภัยทางอาหาร เพิ่มการอนุรักษ์และฟื้นฟู ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงดำรงรักษา การสนับสนุนของธรรมชาติที่มีต่อประชาชน รวมถึงบทบาทหน้าที่ และบริการจากระบบนิเวศ |
Target 11 | เป้าหมายที่ 11 ดูแล รักษาระบบนิเวศเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (Restore, Maintain and Enhance Nature’s Contributions to People) ฟื้นฟู ดูแลรักษาและเพิ่มพูน การสนับสนุนของธรรมชาติที่มีต่อประชาชน บทบาทหน้าที่และบริการจากระบบนิเวศ เช่น การควบคุม คุณภาพอากาศ น้ำและสภาพภูมิอากาศ ความสมบูรณ์ของดิน การผสมเกสร และลดความเสี่ยงโรค รวมทั้งป้องกันอันตราย และภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาและ/หรือวิธีการทางระบบนิเวศ เพื่อประโยชน์ของ ประชาชนและธรรมชาติ |
Target 12 | เป้าหมายที่ 12 เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สีฟ้าในเมือง (Enhance Green Spaces and Urban Planning for Human Well-Being and Biodiversity) เพิ่มขนาด คุณภาพ ความเชื่อมต่อ การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวและแหล่งน้ำ (blue space) อย่างยั่งยืนในเมืองและพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น โดยการสร้างกระแสการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน มั่นใจได้ว่าความหลากหลายทางชีวภาพรวมอยู่ในแผนและผังเมือง โดยเพิ่มความหลากหลาย ทางชีวภาพที่เป็นของท้องถิ่น เพิ่มความสมบูรณ์และการเชื่อมต่อของระบบนิเวศ ปรับปรุงสุขภาพและคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้ดีขึ้นและมีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติและระบบนิเวศจะสนับสนุน ทำหน้าที่ และให้บริการ สังคมเมืองอย่างรอบด้านและยั่งยืน |
Target 13 | เป้าหมายที่ 13 ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม (Increase the Sharing of Benefits From Genetic Resources, Digital Sequence Information and Traditional Knowledge) ดำเนินมาตรการทางกฎหมาย นโยบาย การบริหาร และการเสริมสร้างสมรรถนะอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับ อย่างเหมาะสม เพื่อมั่นใจว่า การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมและข้อมูลดิจิทัลของลำดับ ทรัพยากรพันธุกรรม รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม จะต้องมีการเอื้อให้เกิดการเข้าถึง ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเหมาะสม และภายในปี ค.ศ. 2030 จะต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสอดคล้องกับเครื่องมือระหว่างประเทศด้านการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ |
Target 14 | เป้าหมายที่ 14 บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่นโยบายและกฎหมาย (Integrate Biodiversity in Decision-Making at Every Level) มั่นใจได้ว่า มีการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่นโยบาย กฎระเบียบ แผน กระบวนการพัฒนา กลยุทธ์การขจัดความยากจน ยุทธศาสตร์การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อย่างเต็มที่ตามความเหมาะสม รวมถึงการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าสู่บัญชีประชาชาติในการบริหารของภาครัฐทุกระดับและทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคส่วนที่ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมี นัยสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของสาธารณและเอกชน การหมุนเวียน ทางการเงินและงบประมาณที่ใช้สำหรับเป้าประสงค์และเป้าหมายของกรอบงานฯ |
Target 15 | เป้าหมายที่ 15 ติดตามการดำเนินงานของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน (Businesses Assess, Disclose and Reduce Biodiversity-Related Risks and Negative Impacts) ดำเนินมาตรการทางกฎหมาย การบริหาร หรือนโยบาย เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทข้ามชาติ และสถาบันการเงิน ให้สามารถดำเนินงาน ดังนี้ (A) ติดตาม ประเมิน และเปิดเผยอย่างโปร่งใสเกี่ยวกับข้อมูลความเสี่ยง การใช้ และผลกระทบที่มีต่อความหลากหลาย ทางชีวภาพ รวมถึงข้อมูลที่ต้องการอื่น ๆ จากบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทข้ามชาติ เช่น การดำเนินงาน (operations) อุปทาน (supply) และห่วงโซ่มูลค่า (value chains) และหลักทรัพย์ การลงทุน (portfolios) (B) สนับสนุนข้อมูลที่จำเป็นให้แก่ผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมรูปแบบการบริโภคที่ยั่งยืน (C) รายงานเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ในการลดผลกระทบทางลบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มผลกระทบทางบวก ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน รวมถึงส่งเสริมการดำเนินงานดังกล่าวอย่างยั่งยืน |
Target 16 | เป้าหมายที่ 16 เพิ่มทางเลือกในการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Enable Sustainable Consumption Choices To Reduce Waste and Overconsumption) มั่นใจได้ว่าประชาชนได้รับการส่งเสริมในการเลือกบริโภคอย่างยั่งยืน โดยการจัดทำกรอบงานทางด้านนโยบาย กฎหมาย หรือระเบียบ การปรับปรุงการศึกษา และการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง โดยภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ จะต้องลดการใช้ทรัพยากรและการสร้างของเสียจาก การบริโภค (global footprint of consumption) ไปพร้อมกัน (an equitable manner) ผ่านการลดขยะอาหาร (food waste) ของโลกลงให้ได้ครึ่งหนึ่ง ลดการบริโภคมากเกินไปและลดการสร้างของเสียอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีร่วมกับแม่พระธรณี |
Target 17 | เป้าหมายที่ 17 เสริมสร้างการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและกระจายคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ (Strengthen Biosafety and Distribute the Benefits of Biotechnology) จัดตั้ง เสริมสร้างสมรรถนะ และดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามข้อบท 8 (G) ของอนุสัญญาฯ พร้อมทั้งดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมดูแลเทคโนโลยีชีวภาพและแจกจ่ายผลประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวตามข้อบท 19 ของอนุสัญญาฯ |
Target 18 | เป้าหมายที่ 18 ขจัดแรงจูงใจและเงินอุดหนุนที่ส่งผลเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Reduce Harmful Incentives by at Least $500 Billion per Year, and Scale Up Positive Incentives for Biodiversity) จำแนก ลด ละ เลิก แรงจูงใจและเงินอุดหนุนที่เป็นอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพภายในปี ค.ศ. 2025 ในสัดส่วนที่พอดี เท่าเทียม มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยที่ภายในปี ค.ศ. 2030 จะต้องลดแรงจูงใจและเงินอุดหนุนข้างต้นให้ได้ อย่างน้อย 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยเริ่มต้นจากการลดแรงจูงใจที่มีผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลาย ทางชีวภาพและค่อย ๆ เพิ่มแรงจูงใจเชิงบวกสำหรับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน |
Target 19 | เป้าหมายที่ 19 เพิ่มแหล่งเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน (Mobilize $200 Billion per Year for Biodiversity From all Sources, Including $30 Billion Through International Finance) เพิ่มระดับทรัพยากรการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นรูปธรรม รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับระยะเวลาและกระบวนการเข้าถึง ทรัพยากรการเงิน จากทุกแหล่งการเงินทั้งในระดับประเทศ ระหว่างประเทศ ภาคสาธารณชนและภาคเอกชน ตามข้อบท 20 ของอนุสัญญาฯ เพื่อดำเนินการตามกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (NBSAPs) โดยภายในปี ค.ศ. 2030 จะต้องระดมทรัพยากรทางการเงินให้ได้อย่างน้อย 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี รวมถึงดำเนินงานอื่น ๆ ดังนี้ (A) เพิ่มแหล่งเงินระหว่างประเทศอย่างน้อย 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2025 และอย่างน้อย 30,000 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2030 จากประเทศพัฒนาแล้ว ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (official development assistance: ODA) และจากประเทศที่คาดว่าจะจัดทำสัญญากับประเทศภาคีกำลังพัฒนา เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศ ที่กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (B) เพิ่มการระดมทรัพยากรในระดับประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยจัดเตรียมและดำเนินงานตามแผนการเงิน ด้านความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติหรือเครื่องมือที่มีความคล้ายคลึงกันตามความต้องการ ลำดับความสำคัญ และสถานการณ์ของประเทศ (C) ใช้ประโยชน์ทางการเงินของภาคเอกชน การส่งเสริมการเงินรูปแบบผสมผสาน การดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อหา และเพิ่มแหล่งเงินใหม่และการสนับสนุนภาคเอกชนให้ลงทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการดำเนินงาน ผ่านการลงทุนที่สร้างผลกระทบเชิงบวก(impact funds) และเครื่องมืออื่น ๆ (D) กระตุ้นแผนการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น ค่าตอบแทนสำหรับการบริการจากระบบนิเวศ (payment for ecosystem services) ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (green bonds) ค่าตอบแทนหรือสินเชื่อด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพ (biodiversity offsets and credits) กลไกการแบ่งปันผลประโยชน์ (E) ใช้ประโยชน์และดำเนินงานร่วมกันอย่างเหมาะสมเพื่อกำหนดเป้าหมายทางการเงินในการแก้ไขวิกฤตการณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (F) ส่งเสริมบทบาทในการรวบรวมการปฏิบัติของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น การกระทำของแม่พระธรณี (mother earth centric action) และวิธีการที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานการตลาด ซี่งรวมชุมชนที่มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และความร่วมมือร่วมใจของภาคประชาสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (G) ส่งเสริมการจัดหาและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และโปร่งใส |
Target 20 | เป้าหมายที่ 20 การเสริมสร้างสมรรถนะและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Strengthen Capacity-Building, Technology Transfer, and Scientific and Technical Cooperation for Biodiversity) เสริมสร้างสมรรถนะและการพัฒนา การเข้าถึงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งเสริมการพัฒนาและการเข้าถึง ความร่วมมือทางนวัตกรรม วิชาการ และวิทยาศาสตร์ รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับประเทศ กำลังพัฒนา (South–South cooperation) ความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (North–South cooperation) และความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศและภาคประชาสังคม (triangular cooperation) เพื่อบรรลุความต้องการในการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเข้าร่วมในโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและการสร้างความเข้มแข็งงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สมรรถนะในการติดตาม ซึ่งเทียบเท่าได้กับความต้องการที่จะไปให้ถึงเป้าประสงค์และเป้าหมายของกรอบงานฯ |
Target 21 | เป้าหมายที่ 21 มีข้อมูลเพียงพอในการกำหนดแนวทางบริหารจัดการ (Ensure That Knowledge Is Available and Accessible To Guide Biodiversity Action) มั่นใจได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ผู้ปฏิบัติ และสาธารณชน สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้เพื่อใช้ เป็นแนวทางในการบริหาร บูรณาการ และการมีส่วนร่วมในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเสริมสร้างการสื่อสาร การยกระดับความตระหนัก การศึกษา การติดตาม การจัดการงานวิจัยและองค์ความรู้ สำหรับข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ในบริบทของภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรม การปฏิบัติและเทคโนโลยีของชนพื้นเมือง และชุมชนท้องถิ่นควรคำนึงถึง การเปิดโอกาสให้ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นเข้าถึงอย่างอิสระ การเข้าถึงตามความเห็นชอบ ที่ได้แจ้งล่วงหน้าที่สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศ |
Target 22 | เป้าหมายที่ 22 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม (Ensure Participation in Decision-Making and Access to Justice and Information Related to Biodiversity for all) มั่นใจได้ว่า ผู้แทนจากชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมและข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับการสรรหาอย่างเต็มที่ เท่าเทียม ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงเพศสภาพ โดยเคารพต่อวัฒนธรรมและสิทธิเหนือดินแดน อาณาเขต ทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นของพวกเขา รวมถึงมั่นใจว่าผู้หญิงและเด็กหญิง เด็กและเยาวชน ผู้พิการ จะได้รับการปกป้อง สิทธิทางมนุษยธรรมของของผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม (environmental human rights defenders) อย่างเต็มที่ |
Target 23 | เป้าหมายที่ 23 สนับสนุนสิทธิสตรีและเด็กและคำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศในการดำเนินงาน (Ensure Gender Equality and a Gender-Responsive Approach for Biodiversity Action) มั่นใจได้ว่า มีความเท่าเทียมทางเพศที่คำนึงถึงเพศสภาพในการดำเนินงานตามกรอบงานฯ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียม ทางโอกาสและสมรรถนะของผู้หญิง เด็กหญิง ในการสนับสนุนวัตถุประสงค์ทั้งสามข้อของอนุสัญญาฯ โดยตระหนักถึง ความเท่าเทียมทางสิทธิและการเข้าถึงดินแดน ทรัพยากรธรรมชาติและความเท่าเทียม ในการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และมีความหมาย และความเท่าเทียมในการเป็นผู้นำในการปฏิบัติ การสร้างพันธสัญญา การตัดสินใจทางนโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ |