ข่าวประชาสัมพันธ์
📰 ไทยเดินหน้าหารือฝรั่งเศสภายใต้กรอบความร่วมมือทวิภาคีด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ไทย-ฝรั่งเศส…
Waterbird OnePage
ฉบับที่ 11 : EAAFP Site Partnership Guideline
ฉบับที่ 10 : Regional Flyway Initiative
ฉบับที่ 9 : การดำเนินงานด้านนกน้ำอพยพและนกประจำถิ่นในประเทศไทย
ฉบับที่ 8 : นกน้ำอพยพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ฉบับที่ 7 : ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำอพยพ
โครงการความร่วมมือพันธมิตรสำหรับการอนุรักษ์นกน้ำอพยพและการใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำอพยพอย่างยั่งยืนในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก – ออสเตรเลีย (Partnership for the Conservation of Migratory Waterbirds and the Sustainable Use of their Habitats in the East Asian – Australasian Flyway หรือ The East Asian- Australasian Flyway Partnership : EAAFP) เป็นหนึ่งในเก้าเส้นทางนกน้ำอพยพหลักที่สำคัญของโลกโดยเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก-ออสเตรเลีย ทอดยาว จากรัสเซียตะวันออก (สหพันธรัฐรัสเซีย) และอลาสก้า (สหรัฐอเมริกา) ไปทางใต้ ผ่านเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปถึงเครือรัฐออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ครอบคลุม 22 ประเทศ
โดยเส้นทางการบินนี้เป็นที่อยู่ของนกน้ำอพยพมากกว่า 50 ล้านตัว จากประชากรนกกว่า 250 สายพันธุ์ รวมทั้งนกที่อยู่ในสถานภาพถูกคุกคาม 36 สายพันธุ์ และนกที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม 19 สายพันธุ์
ความร่วมมือนี้เกิดจากความสำเร็จของคณะกรรมการอนุรักษ์นกน้ำอพยพในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (Asia – Pacific Migratory Waterbirds Conservation Committee : MWCC) และยุทธศาสตร์การอนุรักษ์นกน้ำอพยพเอเชีย – แปซิฟิก (Asia-Pacific Migratory Waterbird Conservation Strategy : APMWCS) จากแผนการดำเนินงานสำหรับ นกเป็ด (Anatidae) นกกระเรียน (Crane) และนกชายเลน (Shorebird) ซึ่งแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการช่วยส่งเสริมและเป็นแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศ การประสานงาน ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์และปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญของนกน้ำอพยพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539
ต่อมารัฐบาลออสเตรเลีย และรัฐบาลญี่ปุ่น ร่วมกับองค์การพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติได้ยกร่างข้อตกลงโครงการความร่วมมือพันธมิตรการอนุรักษ์นกน้ำอพยพฯ ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2548 และได้มีการลงนามรับรองครั้งแรก ณ เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤศจิกายน 2549