Just another WordPress site

ฉบับที่ 9 : การดำเนินงานด้านนกน้ำอพยพและนกประจำถิ่นในประเทศไทย

Actions inThailand : Migratory water Bird & Resident Bird

  1. Meeting of Partners of East Asian – Australasian Flyway Partnership (EAAFP-MOP11)
    -การรับรอง CEPA Action Plan (2023-2028)
    -การปรับปรุงเกณฑ์และเอกสารการเสนอพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพ
    -คู่มือแนวทางการปฏิบัติงาน EAAFP National & Site Partnerships
  2. Asian Waterbird Census : AWC 2023 – Thailand
    โครงการนับประชากรนกน้ำในช่วงฤดูหนาว (AWC) เป็นสำรวจนับประชากรนกน้ำในเดือนมกราคมของทุกปี โดยสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  และในปี 2023 ได้มีการจัดกิจกรรมอาสาสมัครนักวิทยาศาสตร์พลเมือง (Citizen Science) ร่วมกันสำรวจประชากรนกน้ำ
  3. การอนุรักษ์นกแก้วโม่ง จังหวัดนนทบุรี (2565)
    นกแก้วโม่ง (Psittacala eupatria) เป็นนกที่จัดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (EN) ตามบัญชี Thailand Red Data 2020 โดยในจังหวัดนนทบุรี พบนกแก้วโม่งฝูงใหญ่ที่สุดบริเวณวัดสวนใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันประชากรนกแก้วโม่งมีแนวโน้มลดลงจากปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินส่งผลให้แหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารลดน้อยลง
  4. โครงการจัดการพื้นที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
    การพัฒนากลไกทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์นกน้ำอพยพและใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพอย่างยั่งยืนในพื้นที่เครือข่ายปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ (2566) ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำกลไกทางเศรษฐศาสตร์และมาตราการจูงใจในการอนุรักษ์นกน้ำอพยพ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องนกน้ำอพยพแก่เยาวชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่

คำสำคัญ : MOP , AWC, ปากแม่น้ำกระบี่ , นกแก้วโม่ง , กลไกทางเศรษฐศาสตร์ , การดำเนินงาน, นกน้ำอพยพ

ดาวน์โหลดเอกสาร

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept

Privacy & Cookies Policy