Just another WordPress site

แผนกลยุทธ์ฯ และเป้าหมายไอจิ

แผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011 – 2020 และเป้าหมายไอจิ
(Strategic Plan for Biodiversity (2011-2020) and the Aichi Biodiversity Targets) 

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 10 ได้มีข้อตัดสินใจที่ X/2 รับรองแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2011 – 2020 (พ.ศ. 2554 – 2563) เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งสำหรับอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพและรวมถึงองค์การสหประชาชาติ และพันธมิตรอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วมในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนานโยบาย โดยภาคีอนุสัญญาฯ เห็นพ้องให้มีการแปลงกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกไปสู่กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (national biodiversity strategies and action plans : NBSAPs) ภายในสองปี

วิสัยทัศน์

ภายใน ค.ศ. 2050 ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับความนิยมในคุณค่า ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และถูกใช้อย่างชาญฉลาดเพื่อธำรงรักษาบริการจากระบบนิเวศ เพื่อผดุงพื้นพิภพที่สมบูรณ์พูนผลให้ยั่งยืน และเพื่ออำนวยผลประโยชน์ที่สำคัญยิ่งให้แก่ผู้คนทั้งปวง

พันธกิจ

ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและเร่งด่วน เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้หลักประกันว่า ภายใน ค.ศ. 2020 ระบบนิเวศมีความยืดหยุ่นคงทนและยังคงให้บริการที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้ความมั่นคงแก่หลากหลายชีวิตบนพื้นพิภพ และเกื้อกูลการกินดีอยู่ดีและการขจัดความยากจน โดยลดแรงกดดันต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ฟื้นฟูระบบนิเวศ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน แบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมในวิถีทางที่ยุติธรรมและเท่าเทียม มีการจัดหาทรัพยากรการเงินที่เพียงพอ สมรรถนะได้รับการเพิ่มพูน ประเด็นและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ถูกหยิบยกเป็นกระแสหลัก นโยบายที่เหมาะสมได้รับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล และมีการตัดสินใจบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้และเป็นไปตามวิถีทางการระมัดระวังล่วงหน้า ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์และ 20 เป้าหมาย

การติดตามการดำเนินงานแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011 – 2020 และเป้าหมายไอจิ 

  • รายงานแห่งชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (National Report)

เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามความก้าวหน้าการดำเนนิงานตามพันธกรณีของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ โดยปกติจัดจัดทำทุก ๆ 4 ปีซึ่งในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ได้มีมติให้ภาคีอนุสัญญาฯ จัดทำรายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (ค.ศ. 2015) และฉบับที่ 5 (ค.ศ. 2019) รายงานแห่งชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพโดยมุ่งเน้นที่การดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2011-2020 (พ.ศ. 2554 – 2563) และความก้าวหน้าที่จะบรรลุเป้าหมายไอจิว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

ดาวน์โหลด 

รายงานแห่งชาติฉบับที่ 6 ฉบับเต็ม EN TH ฉบับสรุป TH (BIODIVERSITYPROGRESS 2019)
รายงานแห่งชาติฉบับที่ 5 ฉบับเต็ม EN

  • การจัดทำรายงานสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Global Biodiversity Outlook: GBO)

สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ได้จัดทำรายงานสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (GBO) เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นฐานของขอมูลรายงานแห่งชาติ ประกอบด้วย GBO ฉบับที่ 4 และ 5

GBO4 (ค.ศ. 2014)
สรุปผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพระยะครึ่งแผน (mid-term review) โดยพบว่าการดำเนินงานตามเป้าหมายไอจิในภาพรวมส่วนใหญ่มีความก้าวหน้าแต่ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานสนับสนุนมากเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า โลกจะสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ภายในปี ค.ศ. 2020

GBO5 (ค.ศ. 2020) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระยะสิ้นสุดแผนบนพื้นฐานของการประเมินจากตัวชี้วัด รายงานวิจัยและการประเมินต่าง ๆ โดยเฉพาะรายงานการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศระดับโลกของ IPBES รายงานแห่งชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ พบว่าการติดตามดัชนีชี้วัดด้านนโยบายและการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพนั้นมีภาพรวมเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น ในขณะที่ดัชนีชี้วัดด้านสถานภาพและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มทางลบ โดยไม่มีเป้าหมายใดที่บรรลุผลสำเร็จโดยสมบูรณ์ มีเพียง 6 เป้าหมายที่ประสบผลสำเร็จบางส่วน (เป้าหมายที่ 9, 11, 16, 17, 19 และ 20)

ดาวน์โหลด

GBO5  ฉบับเต็ม EN ฉบับสรุป EN TH  
GBO4  ฉบับเต็ม EN ฉบับสรุป EN

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept

Privacy & Cookies Policy