ความหลากหลายทางชีวภาพในวัฒนธรรมและประเพณีไทย

  • ประเพณีไทยอย่างน้อย 25 ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติตามความเชื่อทางวัฒนธรรมอย่างน้อย 40 เรื่อง : แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
  • ประเพณีและธรรมเนียมจะเกี่ยวพันกับการใช้ประโยชน์พืชพรรณอย่างน้อย 200 ชนิด
    • พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่แสดงถึงการเริ่มต้นฤดูทำนา ซึ่งเสริมสร้างขวัญกำลังใจและสิริมงคลแก่เกษตรกรไทย พระราชพิธีนี้ใช้พืชพรรณอย่างน้อย 20 ชนิด เช่น ข้าวเปลือก(Oryza sativa L.) ข้าวโพด (Zea mays L.) ถั่วเขียว (Vigna radiata (L.) Wilezek) งาดำ (Sesamum orientale L.) หญ้า (หญ้าขน Brachiaria mutica Stapf) เป็นต้น
    • ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ไทยซึ่งนับตามจันทรคติ มีขึ้นในวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี ในภาคเหนือประเพณีนี้ใช้ส่วนประกอบของพืชพรรณอย่างน้อย 25 ชนิด เช่น ดอกมะลิลา(Jasminum sambac Ait.) ฝักส้มป่อย (Acacia concinna (Willd.)DC.) น้ำขมิ้น(Curcuma longa L.) ดอกสารถี (Mammea siamensis Kosterm.) ดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius L.) เป็นต้น
ประเพณีวัฒนธรรมกับการใช้พืชพันธุ์ต่างๆ