แผนกลยุทธ์ฯ และเป้าหมายไอจิ

แผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011 – 2020 และเป้าหมายไอจิ
(Strategic Plan for Biodiversity (2011-2020) and the Aichi Biodiversity Targets) 

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 10 ได้มีข้อตัดสินใจที่ X/2 รับรองแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2011 – 2020 (พ.ศ. 2554 – 2563) เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งสำหรับอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพและรวมถึงองค์การสหประชาชาติ และพันธมิตรอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วมในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนานโยบาย โดยภาคีอนุสัญญาฯ เห็นพ้องให้มีการแปลงกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกไปสู่กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (national biodiversity strategies and action plans : NBSAPs) ภายในสองปี

วิสัยทัศน์

ภายใน ค.ศ. 2050 ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับความนิยมในคุณค่า ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และถูกใช้อย่างชาญฉลาดเพื่อธำรงรักษาบริการจากระบบนิเวศ เพื่อผดุงพื้นพิภพที่สมบูรณ์พูนผลให้ยั่งยืน และเพื่ออำนวยผลประโยชน์ที่สำคัญยิ่งให้แก่ผู้คนทั้งปวง

พันธกิจ

ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและเร่งด่วน เพื่อหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้หลักประกันว่า ภายใน ค.ศ. 2020 ระบบนิเวศมีความยืดหยุ่นคงทนและยังคงให้บริการที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้ความมั่นคงแก่หลากหลายชีวิตบนพื้นพิภพ และเกื้อกูลการกินดีอยู่ดีและการขจัดความยากจน โดยลดแรงกดดันต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ฟื้นฟูระบบนิเวศ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน แบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมในวิถีทางที่ยุติธรรมและเท่าเทียม มีการจัดหาทรัพยากรการเงินที่เพียงพอ สมรรถนะได้รับการเพิ่มพูน ประเด็นและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ถูกหยิบยกเป็นกระแสหลัก นโยบายที่เหมาะสมได้รับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล และมีการตัดสินใจบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้และเป็นไปตามวิถีทางการระมัดระวังล่วงหน้า ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์และ 20 เป้าหมาย

การติดตามการดำเนินงานแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011 – 2020 และเป้าหมายไอจิ 

  • รายงานแห่งชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (National Report)

เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามความก้าวหน้าการดำเนนิงานตามพันธกรณีของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ โดยปกติจัดจัดทำทุก ๆ 4 ปีซึ่งในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ได้มีมติให้ภาคีอนุสัญญาฯ จัดทำรายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (ค.ศ. 2015) และฉบับที่ 5 (ค.ศ. 2019) รายงานแห่งชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพโดยมุ่งเน้นที่การดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2011-2020 (พ.ศ. 2554 – 2563) และความก้าวหน้าที่จะบรรลุเป้าหมายไอจิว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

ดาวน์โหลด 

รายงานแห่งชาติฉบับที่ 6 ฉบับเต็ม EN TH ฉบับสรุป TH (BIODIVERSITYPROGRESS 2019)
รายงานแห่งชาติฉบับที่ 5 ฉบับเต็ม EN

  • การจัดทำรายงานสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Global Biodiversity Outlook: GBO)

สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ได้จัดทำรายงานสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (GBO) เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นฐานของขอมูลรายงานแห่งชาติ ประกอบด้วย GBO ฉบับที่ 4 และ 5

GBO4 (ค.ศ. 2014)
สรุปผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพระยะครึ่งแผน (mid-term review) โดยพบว่าการดำเนินงานตามเป้าหมายไอจิในภาพรวมส่วนใหญ่มีความก้าวหน้าแต่ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานสนับสนุนมากเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า โลกจะสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ภายในปี ค.ศ. 2020

GBO5 (ค.ศ. 2020) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระยะสิ้นสุดแผนบนพื้นฐานของการประเมินจากตัวชี้วัด รายงานวิจัยและการประเมินต่าง ๆ โดยเฉพาะรายงานการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศระดับโลกของ IPBES รายงานแห่งชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ พบว่าการติดตามดัชนีชี้วัดด้านนโยบายและการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพนั้นมีภาพรวมเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้น ในขณะที่ดัชนีชี้วัดด้านสถานภาพและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มทางลบ โดยไม่มีเป้าหมายใดที่บรรลุผลสำเร็จโดยสมบูรณ์ มีเพียง 6 เป้าหมายที่ประสบผลสำเร็จบางส่วน (เป้าหมายที่ 9, 11, 16, 17, 19 และ 20)

ดาวน์โหลด

GBO5  ฉบับเต็ม EN ฉบับสรุป EN TH  
GBO4  ฉบับเต็ม EN ฉบับสรุป EN