Just another WordPress site

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

สังคมพืชที่พบในระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดินแบ่งตามลักษณะของพืชที่สัมพันธ์กับความลึก
ของระดับน้ำได้ ดังนี้

  • พืชใต้น้ำ หมายถึง พืชที่ทุกส่วนของพืช ได้แก่ ใบ ก้าน ราก ยกเว้น ดอกหรือช่อดอก มีการเจริญเติบโตอยู่ใต้น้ำ เช่น ดีปลีน้ำ (Potamogeton nodosus) สาหร่ายหางกระรอก (Hydrilla verticillata)
  • พืชใบลอยน้ำ หมายถึง พืชที่มีใบลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่หยั่งรากลงใต้พื้นน้ำ เช่น บัวสาย (Nymphaea spp.)
  • พืชลอยน้ำ หมายถึง พืชที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ โดยไม่หยั่งรากลงใต้พื้นน้ำ เช่น แหนเป็ด (Lemna minor) จอก (Pistia stratiotes) ผักตบชวา (Eichhornia crassipes)
  • พืชชายน้ำ หรือพืชโผล่พ้นน้ำ หมายถึง พืชที่ใบและลำต้นโผล่พ้นผิวน้ำ แต่หยั่งรากลงใต้พื้นน้ำ เช่น ธูปฤาษี (Typha spp.) กก (Cyperus spp.) ขลู่ (Pluchea indica) จิกน้ำ (Barringtonia acutangula)

สังคมสัตว์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดินมีทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น นาก (Lutra spp.) เสือปลา (Prionailurus viverrinus) นกซึ่งประกอบด้วย นกน้ำ นกชายเลน นกท่องน้ำ นกทุ่ง นกที่อาศัยและหากินริมฝั่งน้ำ และนกนักล่า สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) เต่าน้ำจืด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบ เขียด กะท่าง (Tylototriton verrucosus) และปลาน้ำจืด ทั้งที่อาศัยในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล เป็นต้น

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept

Privacy & Cookies Policy