ระหว่างประเทศ
- เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
องค์กรสหประชาชาติได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้แทนเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษที่หมดอายุในปี 2558 โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่ปี 2558-2573 เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยประกอบด้วย เป้าหมายหลัก 17 เป้าหมาย ซึ่ง SDGs ได้ให้ความสำคัญกับการลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการอนุรักษ์และประโยชน์จากฐานทรัพยากรทางบกและทะเลอย่างยั่งยืน การรักษาสภาพแวดล้อมในเมือง เกษตรกรรม และอื่นๆ รวมทั้ง การให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหยบรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน และเป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืนจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน ต่อสู้การกลายเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลางของประเทศ รายละเอียดเพิ่มเติม
- แผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011-2020 และเป้าหมายไอจิ
จัดทำขึ้นภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับภาคีอนุสัญญาฯ ที่ให้ความสำคัญกับการประเมินสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ โดยประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ จะต้องเร่งดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพฯ และบรรลุเป้าหมายไอจิ 20 เป้าหมาย 5 เป้าประสงค์ทางกลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ A: แก้ไขมูลเหตุรากฐานของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพโดยหยิบยกความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกระแสหลักในภาครัฐและภาคประชาสังคม กลยุทธ์ B: ลดแรงกดดันโดยตรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพและส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กลยุทธ์ C: ปรับปรุงสถานภาพของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฝ้าระวังรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ชนิดพันธุ์ และพันธุกรรม กลยุทธ์ D: เพิ่มพูนผลประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และบริการจากระบบนิเวศต่อคนทั้งปวง และกลยุทธ์ E: เพิ่มพูนการอนุวัตอนุสัญญาฯ โดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ และการพัฒนาสมรรถนะ รายละเอียดเพิ่มเติม
- (ร่าง) กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 (First draft of the Post-2020 Global Biodiversity Framework)
จัดทำขึ้นจากการประเมินแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011-2020 และเป้าหมายไอจิ มีกรอบเวลาการดำเนินงาน 2 ระยะ เพื่อให้สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และวิสัยทัศน์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2050 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหมายที่จะสะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วนและทุกระดับ บนพื้นฐานของนโยบาย/กิจกรรมในระดับประเทศ พร้อมกับการสนับสนุนการดำเนินงานในระดับภูมิภาค และระดับโลก ส่งเสริมการผสานการดำเนินงานและประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 20 เป้าหมาย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่1) การลดการคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 2) การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์ และ3) เครื่องมือและการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานและการบูรณาการงานร่วมกัน โดยกำหนดเป้าหมายความสำเร็จให้เกิดขึ้นภายใน ค.ศ. 2030 ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ร่วมกับประเทศภาคีอนุสัญญา อยู่ระหว่างการทบทวนและปรับปรุง (ร่าง) กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลัง ค.ศ. 2020 โดยจะมีการพิจารณารับรองและใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของภาคีอนุสัญญาฯ ต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติม
- Biosafety Plan