โปรแกรมงานและประเด็น
โปรแกรมงานหลัก (Thematic Programmes) และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง (Cross-Cutting Issues)
โปรแกรมงานหลัก (Thematic Programmes)
สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ได้ริเริ่มดำเนินงานในประเด็นหลัก 7 หัวข้อ ซึ่งแบ่งตามระบบนิเวศที่สำคัญของโลก โดยจัดทำโปรแกรมงานสำหรับแต่ละระบบนิเวศขึ้น ในแต่ละโปรแกรมงานจะประกอบด้วย วิสัยทัศน์ เป้าหมาย หลักการพื้นฐาน งานที่ต้องทำในอนาคต ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณา ผลที่คาดว่าจะได้รับ รวมถึงกรอบเวลา แนวทาง และวิธีการในการดำเนินงานเพื่อบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว อนึ่ง โปรแกรมงานเหล่านี้จะได้รับการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม โดยคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ฯ (SBSTTA) และสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ
- ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร (Agricultural Biodiversity)
- ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งชื้น (Dry and Sub-humid Lands Biodiversity)
- ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าไม้ (Forest Biodiversity)
- ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งภูเขา (Mountain Biodiversity)
- ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง (Marine and Coastal Biodiversity)
- ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเกาะ (Island Biodiversity)
- ความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งน้ำในแผ่นดิน (Inland Waters Biodiversity)
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง (cross-cutting issues)
สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ได้ริเริ่มดำเนินงานในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่เป็นหัวข้อหลัก (thematic area) ทั้งหมดของอนุสัญญาฯ โดยประเด็นดังกล่าวจะระบุอยู่ในมาตราที่ 6-20 ของอนุสัญญาฯ การดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่องช่วยสนับสนุนงานภายใต้ประเด็นหัวข้อหลัก ตัวอย่างเช่น การจัดทำดัชนีชี้วัด ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพและแนวโน้มของความหลากหลายทางชีวภาพในชีวนิเวศทุกประเภททั่วโลก และมีการจัดทำแนวทาง, หลักการ และเครื่องมือในรูปแบบอื่นๆ ที่ช่วยเอื้ออำนวยการดำเนินงานภายใต้อนุสัญญาฯ และเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพปี 2010เป้าหมายไอจิด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Aichi Biodiversity Targets )
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง (cross-cutting issues) มีดังต่อไปนี้
- เป้าหมายไอจิด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Aichi Biodiversity Targets )
- การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม (Access to Genetic Resources and Benefit-sharing)
- ความหลากหลายทางชีวภาพกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Biological and Cultural Diversity)
- ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนา (Biodiversity for Development)
- การเสริมสร้างสมรรถนะ (Capacity Building)
- ความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change and Biodiversity)
- การสื่อสาร การให้การศึกษาและการสร้างความตระหนักแก่สาธารณชน (Communication, Education and Public Awareness)
- ข้อมูลลำดับดิจิตอลของทรัพยากรพันธุกรรม (Digital sequence information on genetic resources )
- เศรษฐกิจ, การค้า และมาตรการแรงจูงใจ (Economics, Trade and Incentive Measures )
- แนวทางเชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Approach )
- การฟื้นฟูระบบนิเวศ (Ecosystem Restoration )
- ความหลากหลายทางชีวภาพกับความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender and Biodiversity)
- กลยุทธ์ทั่วโลกสำหรับการอนุรักษ์พืช (Global Strategy for Plant Conservation)
- การริเริ่มทั่วโลกทางอนุกรมวิธาน (Global Taxonomy Initiative )
- ความหลากหลายทางชีวภาพกับสุขภาพ (Health & Biodiversity)
- การวิเคราะห์ประเมินผลกระทบ (Impact Assessment )
- การจำแนกระบุ, การติดตามตรวจสอบ, ดัชนีชี้วัด และการวิเคราะห์ประเมิน (Identification, Monitoring, Indicators and Assessments )
- พันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species ชนิด)
- การรับผิดและการชดใช้ – มาตรา 14(2) (Liability and Redress – Art. 14(2) )
- ประเด็นอุบัติใหม่ (New & Emerging Issues)
- การริเริ่มด้านการเจรจาในประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพกับสันติภาพ (Peace and Biodiversity Dialogue Initiative)
- พื้นที่คุ้มครอง (Protected Areas)
- การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (Sustainable Use of Biodiversity)
- การจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Wildlife Management)
- ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (Technical and Scientific Cooperation)
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer)
- ความหลากหลายทางชีวภาพกับการท่องเที่ยว (Tourism and Biodiversity)
- ความรู้ การประดิษฐ์คิดค้น และวิธีปฏิบัติที่สืบทอดตามธรรมเนียมประเพณี-มาตรา 8(j) (Traditional Knowledge, Innovations and Practices – Article 8(j) )