การสนองพระราชดำรัส

“ธรรมชาติแวดล้อมของเรา
ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล และอากาศ
มิได้เป็นเพียงสิ่งสวยๆ งามๆ เท่านั้น
หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของเรา
และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีนี้
ก็เท่ากับเป็นการปกป้องรักษาอนาคตไว้
ให้ลูกหลานของเราด้วย”
“Our natural surroundings; Land, forests, rivers, seas
and air are not only beautiful things,
they are essential to our living. To protect our natural
environment is means that
we protect the future of our children.”

จากพระราชดำรัส
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2531 สผ. จึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีความตระหนักและเกิดแรงจูงใจ ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ อาทิ

“ระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย”
ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่รวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทยระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน
รายละเอียดเพิ่มเติม…

“แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน”
เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในระยะ 5 ปี และได้กำหนดให้ “การบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพกับพื้นที่สีเขียว” และ “การรักษาชนิดพรรณพืชและสัตว์และความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้แนวทางปฏิบัติงาน
รายละเอียดเพิ่มเติม…

“การสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์บ้านทำนบให้เกิดความยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลกันตวจระมวลจังหวัดสุรินทร์”
เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ และปกปักรักษาไว้ซึ่งฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ อันประกอบไปด้วย ป่าไม้ พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การจัดการฐานทรัพยากรสำคัญในพื้นที่ ภายใต้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้มีความตระหนักในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า และมีจิตสำนึกหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดเพิ่มเติม…

“การบริหารจัดการพื้นที่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และการจัดทำข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ น้ำตกธารารักษ์ จังหวัดตาก”
เพื่อเป็นต้นแบบของการมีส่วนร่วมที่เกิดจากการบูรณาการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างกลมกลืนและรักษาความสมดุลของพื้นที่ ภายใต้บริบทของชุมชนได้อย่างยั่งยืน
รายละเอียดเพิ่มเติม…

From Her Majesty Queen Sirikit The Queen Mother’s Speech on June 5, 1988, ONEP has encouraged the general public to be aware and motivated them to participate in the conservation of biodiversity through various projects and activities.

“Thailand Biodiversity Information Facility (TH-BIF)”,
a network system, is created to collect and link biodiversity data and information from relevant agencies and sectors across Thailand so that everyone can access and utilize them.

“National guideline for sustainable green area management”
as a guideline for a period of 5 years. One of measures under guideline is “the integrating biodiversity into green area management” as well as “Plant and animal species conservation and the local biodiversity conservation in line with the Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn”

“Plant genetics conservation in Baan Tamnop public forest with the participation of people in Kantuatramuan Sub-district, Surin Province”
is to restore, conserve and preserve the natural resources and biodiversity comprising forests, plant and animal species as well as local wisdom. Under the participation of all sectors and related agencies, this project has led to the management of the resources, sustainable development and campaigns to raise awareness of natural resource values among people.

“Management of Natural Environment Areas and the Preparation of Information on Local Resources in Thararak Waterfall area, Tak Province”
is the result of engagement and integration among all relevant sectors in order to conserve natural resources and biodiversity under the community context in sustainable ways.