Just another WordPress site

ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พบสาหร่ายสีแดงชนิดใหม่

ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ เมืองใหม่ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ทีมวิจัยประมง ประกอบด้วย ตน พร้อมด้วย ดร. จันทนา แสงแก้ว มรภ.ภูเก็ต, Prof. Joe Zuccarello, Victoria University of Wellington, New Zealand และนายจักรพันธ์ บุหลัน นิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์การประมง ได้ค้นพบ สาหร่ายสีแดงชนิดใหม่ของโลก Gracilaria khanjanapajiae ที่บริเวณหาดนาใต้ จ.พังงา และตั้งชื่อสาหร่ายชนิดใหม่นี้ว่า Gracilaria khanjanapajiae เพื่อเป็นเกียรติแด่ ศ.เกียรติคุณกาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์ อาจารย์อาวุโสคณะประมง ผู้บุกเบิกงานวิจัยด้านความหลากหลายของสาหร่ายในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก

ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์กล่าวต่อว่า สืบเนื่องจากปี 2554 ดร.จันทนา ได้สำรวจพบตัวอย่างสาหร่าย Gracilaria หลายชนิด จึงได้ส่งตัวอย่างบางส่วนมาให้กับทีมวิจัยคณะประมงวิเคราะห์ชนิด ต่อมาในปี 2560 ตนได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากคณะประมงสำรวจเพิ่มเติม หลังจากการวิเคราะห์ด้านสัณฐานวิทยาร่วมกับข้อมูลทางพันธุกรรมอย่างละเอียดแล้ว จึงเป็นที่มาของการค้นพบสาหร่ายชนิดใหม่ของโลก Gracilaria khanjanapajiae จากชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในชื่อ ‘Phycologia’ และตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ทีมวิจัยได้ค้นพบสาหร่ายชนิดใหม่ของโลกในสกุล Gracilaria มาแล้ว 2 ชนิด ได้แก่ Gracilairia lantaensis จากเกาะลันตา จ.กระบี่ และ Gracilaria coppejansii จาก จ.ภูเก็ตและสตูล การค้นพบสาหร่ายชนิดใหม่ อย่างต่อเนื่องเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ที่ยังคงอยู่กับทะเลบริเวณชายฝั่งอันดามัน และเป็นข้อมูลสนับสนุน ทะเลอันดามันเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งได้รับการบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลกแล้ว.

ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/2392155

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept

Privacy & Cookies Policy