Just another WordPress site

ความหลากหลายทางชีวภาพในวัฒนธรรมและประเพณีไทย

  • ประเพณีไทยอย่างน้อย 25 ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติตามความเชื่อทางวัฒนธรรมอย่างน้อย 40 เรื่อง : แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
  • ประเพณีและธรรมเนียมจะเกี่ยวพันกับการใช้ประโยชน์พืชพรรณอย่างน้อย 200 ชนิด
    • พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่แสดงถึงการเริ่มต้นฤดูทำนา ซึ่งเสริมสร้างขวัญกำลังใจและสิริมงคลแก่เกษตรกรไทย พระราชพิธีนี้ใช้พืชพรรณอย่างน้อย 20 ชนิด เช่น ข้าวเปลือก(Oryza sativa L.) ข้าวโพด (Zea mays L.) ถั่วเขียว (Vigna radiata (L.) Wilezek) งาดำ (Sesamum orientale L.) หญ้า (หญ้าขน Brachiaria mutica Stapf) เป็นต้น
    • ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ไทยซึ่งนับตามจันทรคติ มีขึ้นในวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี ในภาคเหนือประเพณีนี้ใช้ส่วนประกอบของพืชพรรณอย่างน้อย 25 ชนิด เช่น ดอกมะลิลา(Jasminum sambac Ait.) ฝักส้มป่อย (Acacia concinna (Willd.)DC.) น้ำขมิ้น(Curcuma longa L.) ดอกสารถี (Mammea siamensis Kosterm.) ดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius L.) เป็นต้น
ประเพณีวัฒนธรรมกับการใช้พืชพันธุ์ต่างๆ

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept

Privacy & Cookies Policy