ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพคืออะไร
สิ่งมีชีวิตหลายชนิด หลายสายพันธุ์ในโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มองไม่เห็นอย่างจุลินทรีย์ รวมทั้งมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางชีวภาพ
คุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ
มนุษย์ได้พึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพในการดำรงชีวิต เช่น การเกษตร ประมง ปศุสัตว์ การผลิตยารักษาโรค นอกจากนี้ความหลากหลายทางชีวภาพยังคงช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศและบรรเทาความรุนแรงของภัยธรรมชาติอีกด้วย
องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่สามารถแยกออกจากกันได้
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สภาวะโลกร้อนในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์และระบบนิเวศทั่วทุกมุมโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบนิเวศที่มีความเปราะบาง เช่น แนวปะการัง ระบบนิเวศภูเขา และระบบนิเวศขั้วโลก นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบไปถึงการบริการระบบนิเวศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่นปริมาณ น้ำฝน ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดินที่จำเป็นต่อการเกษตร รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ และสัตว์จากการมีพาหะนำโรคที่มากขึ้น นอกจากนี้ ระบบนิเวศต่าง ๆ อาทิ ระบบนิเวศป่าไม้ ทุ่งหญ้า พื้นที่ เพาะปลูก ป่าพรุ และพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญในการกักเก็บคาร์บอน ดังนั้น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการฟื้นฟูระบบนิเวศที่มีความเสื่อมโทรม จะเป็นการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการดำเนินงานต่าง ๆ สามารถดำเนินงานแบบองค์รวมในหลายมิติ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ การดำเนินงานด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเชื่อมโยง สอดคล้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ ร่วมกันกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน (Living in harmony with nature)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพต่างก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากแรงขับเคลื่อน (Driver) ที่เกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และปัญหาทั้งสองต่างทวีความรุนแรงให้กันและกัน
กิจกรรมที่ส่งผลกระทบให้เกิดการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพและการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์บนบกและทะเล การใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตเกินขีดจากัด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ซึ่งจะส่งผลไปถึงบริการจากระบบนิเวศ (Ecosystem Services) ที่มนุษย์ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่
- บริการด้านการเป็นแหล่งผลิต เช่น การเป็นแหล่งอาหาร น้าสะอาด ยารักษาโรค
- บริการด้านการควบคุม เช่น การควบคุม สภาพภูมิอากาศ การชะลอน้าและดินถล่ม (การกักเก็บ CO2)
- บริการด้านวัฒนธรรม เช่น การเป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการ
- บริการด้านการสนับสนุน เช่น การควบคุมการหมุนเวียนของธาตุอาหาร การผสมเกสร
ความสำคัญของสถานภาพของสิ่งมีชีวิต
ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม หมายถึง ชนิดพันธุ์ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากแหล่งที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ เนื่องจากมีปัจจัยคุกคามอันเป็นสาเหตุให้ชนิดพันธุ์นั้นสูญพันธุ์โดยเป็นการกำหนดกลุ่มของชนิดพันธุ์ที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์จากมากไปน้อย ได้แก่ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ใกล้สูญพันธุ์ และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species : IAS) หมายถึง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแล้วสามารถตั้งถิ่นฐานและมีการแพร่กระจายได้ธรรมชาติ เป็นชนิดพันธุ์เด่นในสิ่งแวดล้อมใหม่ (dominant species) และเป็นชนิดพันธุ์ที่อาจทำให้ชนิดพันธุ์พื้นเมืองสูญพันธุ์ รวมไปถึงส่งผลคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพและก่อให้เกิดความสูญเสียทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขอนามัย