“ราในที่มืด” 8 ชนิดใหม่
นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิจัยจากประเทศจีน ร่วมกันสำรวจ
ความหลากหลายของราที่อาศัยอยู่ใน “ถ้ำเลเสตโกดอน” และ “ถ้ำภูผาเพชร” จังหวัดสตูล โดยการศึกษานี้ทีมนักวิจัยสามารถค้นพบราสายพันธุ์ใหม่ของไทยและของโลก
ได้อีก 8 ชนิด
จากข้อมูลสัณฐานวิทยาและวิเคราะห์วิวัฒนาการเชิงโมเลกุล ทีมนักวิจัยได้ตั้งชื่อให้กับสถานที่หรือพื้นที่ที่ได้พบราดังกล่าว และราทั้ง 8 ชนิด มีชื่อประกอบด้วย
1. Actinomortierella caverna
2. Hypoxylon phuphaphetense
3. Leptobacillium latisporum
4. Malbranchea phuphaphetensis
5. Scedosporium satunense
6. Sesquicillium cavernum
7. Thelonectria satunensis
8. Umbelopsis satunensis
ระบบนิเวศในถ้ำมีความเป็นเอกลักษณ์และมีลักษณะพิเศษ เพราะว่ามืด มีอุณหภูมิต่ำถึงปานกลาง อากาศน้อยและความชื้นสูง ไม่เหมาะกับสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดในถ้ำได้ต้องมีการปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพที่ไม่ปกติดังกล่าว
ถ้ำเลเสตโกดอน ถือว่า เป็นถ้ำที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร คำว่า “สเตโกดอน” คือชื่อช้างดึกดำบรรพ์ เนื่องจากมีการพบฟอสซิล
ของช้างดังกล่าวในถ้ำแห่งนี้ ส่วน ถ้ำภูผาเพชร ถือว่า เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก ชื่อเดิมของถ้ำภูผาเพชร คือ
“ถ้ำลอด หรือ ถ้ำเพชร” เนื่องจากถ้ำมีความ คดเคี้ยว ยาวแบ่งเป็นหลายตอนหรือห้องๆ ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยจำนวนมาก เมื่อกระทบกับแสงไฟ ผนังถ้ำมีประกายแวววาวราวกับเพชร จึงเป็นที่มาของชื่อ เรียกว่า ถ้ำเพชร
งานวิจัยนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแสดงถึงความหลากหลายของราในถ้ำ โดยข้อมูลเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลทางชีวภาพของราดังกล่าวและเน้นบทบาท
ในระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษและช่วยสนับสนุนฐานองค์ความรู้และใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพเพื่อสะท้อนความสมบูรณ์ของถ้ำในพื้นที่ภายใต้อุทยานธรณีโลก
ยูเนสโกสตูล
สามารถศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ingentaconnect.com/content/wfbi/fuse/pre-prints/content-f1_fuse_vol12_art1;jsessionid=1kptin6p9gpvf.x-ic-live-03#
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล เพจ Environman