Just another WordPress site

“ระฆังอัครา” พืชชนิดใหม่ของโลก

คณะผู้วิจัย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นางสาวอานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ พร้อมทั้งนายอรุณ สินบำรุง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และนักวิจัยอีกหลายท่าน ได้ร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพรรณไม้วงศ์กระดังงา (Annocaceae)
ในประเทศไทยที่หายากและยังไม่เป็นที่รู้จัก เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” จากการวิจัยดังกล่าวได้พบพืชชนิดใหม่ของโลกในวงศ์กระดังงาจากจังหวัดกระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Miliusa majestatis Damth., Sinbumr. & Chaowasku ชื่อไทย “ระฆังอัครา” ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
ระดับนานาชาติ Annales Botanici Fennici ปีที่ 60 หน้าที่ 151-160 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ คำระบุชนิด “majestatis” ได้ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” ในโอกาสที่ทรงมีพระชนมายุ
ครบ 90 พรรษา

ขอขอบคุณรูปภาพจากเพจ Plant Diversity in Thailand

ลักษณะเด่นของ “ระฆังอัครา” คือเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตร ดอกมีรูปร่างคล้ายระฆัง กลีบดอกชั้นในคอดรัดมีช่องเปิดขนาดเล็กอยู่ระหว่างโคนกลีบดอกชั้นในที่ติดกัน กลีบดอกชั้นในที่อยู่ส่วนล่างของการคอดรัดมีสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกชั้นในที่อยู่ส่วนบนส่วนมากมีสีแดงม่วงเข้มอมน้ำตาล โคนกลีบมีเนื้อเยื่อโปร่งแสง
ทำให้แสงส่องผ่านได้ เวลาออกดอกจะออกพร้อมกัน มักขึ้นอยู่ริมสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมันนอกเขตอนุรักษ์ ทำให้สุ่มเสี่ยงที่จะถูกแผ้วถางในอนาคต จึงจำเป็นต้อง
ช่วยกันอนุรักษ์พืชชนิดนี้ไม่ให้สูญพันธุ์จากประเทศไทยและจากโลก จากรายงานการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าพืชชนิดอื่นๆในสกุลเดียวกันเป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านมะเร็ง ทั้งยังสามารถพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ เนื่องจากปลูกเลี้ยงค่อนข้างง่าย มีดอกสวยงาม

สามารถศึกษาวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ https://bioone.org/journals/annales-botanici-fennici/volume-60/issue-1/085.060.0124/Miliusa-majestatis-Annonaceae-a-New-Species-from-Southern-Thailand-as/10.5735/085.060.0124.short

ขอขอบคุณแหล่งที่มา เพจ สกสว.

https://www.facebook.com/plantdiversityinthailand/posts/pfbid0FHg6fYFTLKXomWtMgXyNjpF4Kd1j73Gu2k6utdafMifkbLzw5VsKwx9whDskRhUZl

https://www.thairath.co.th/news/royal/2716419?fbclid=IwAR1zHrs4SFM7Iq9ZXMpSiTRU2BiAuZ3jt4kT2twYope6LCjkafsXF0fxsZo

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept

Privacy & Cookies Policy