หอยทากบกนักล่าสกุลใหม่ของโลก
งานวิจัยฉบับที่ 12 ในงานวิจัยรวมเล่มฉบับพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิด 65 ปี ของศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา โดยคณะนักวิจัยนำโดย
อ.ดร.ธนิต ศิริบุญ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเป็นภาคีเครือข่ายของหน่วยปฏิบัติการวิจัยซิสเทแมติกส์ของสัตว์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาสายวิวัฒนาการของหอยทากบกนักล่าวงศ์ Streptaxidae ในประเทศไทยโดยอาศัยข้อมูลดีเอ็นเอ
พบว่าสายวิวัฒนาการหนึ่งของหอยทากบกนักล่าที่เดิมอยู่ในสกุล Oophana นั้นมีวิวัฒนาการที่แยกออกไปจำเพาะ และมีลักษณะของเปลือกทรงกระสวยเอียง
ยอดทรงโคนยกตัวขึ้น และมีตะขอในอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้แยกกันด้วยแนวพับตาข่ายที่ยกสูงขึ้น ซึ่งลักษณะเหล่านี้ไม่พบในหอยนักล่าสกุลอื่น ๆ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้
ตั้งชื่อหอยทากบกนักล่าสกุลใหม่ของโลก Panhartemis Siriboon, 2023 ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการซิสเทแมติกส์ของสัตว์
หอยนักล่าสกุลใหม่ดังกล่าวประกอบด้วย 2 ชนิด คือ
1. Panhartemis mouhoti (Pfeiffer, 1863) หอยนักล่าปัญหามูโอต์ พบได้ตามเขาหินปูนใน จ.เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ และเขตตะนาวศรี ประเทศเมียนมาร์
2. Panhartemis strangulatus (Möllendorff, 1894) หอยนักล่าปัญหาสามร้อยยอด พบได้ตามเขาหินปูนใน อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
การศึกษานี้จึงมีความสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหอยทากบกนักล่าในประเทศไทย และยังเน้นย้ำถึงคุณค่าของแหล่งที่อยู่อาศัยเขาหินปูนที่เป็นแหล่งขุมทรัพย์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ
สามารถศึกษาการวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tnh/article/view/258828?fbclid=IwAR21DOzCXnrgo71JYjab28XVmbn51P1vLTlrL-nQ-Su6wRXP9oHdSBDcOS4
ขอขอบคุณแหล่งที่มา เพจ Animal Systematics Research Unit, CU
https://www.facebook.com/100064042151711/posts/pfbid02LLapaaLraXFxvbBVxHUhxYxSi22qjNNXcwysZ8EAvBYtiwUJSdctStsGgnb746Qjl/?mibextid=NOb6eG