ตุ๊กกาย 2 ชนิดใหม่
ดร.กอขวัญ เติมประยูร อ.ดร.อรรถพล รุจิราวรรณ และ รศ.ดร.อัญชลี เอาผล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งร่วมทำวิจัยกับ
Dr. L. Lee Grismer จาก La Sierra University และ Dr. Perry L. Wood Jr. จาก University of Michigan ค้นพบตุ๊กกายชนิดใหม่ในประเทศไทย จำนวน 2 ชนิด ดังนี้
1. Cyrtodactylus sungaiupe ตุ๊กกายทุ่งหว้า
ไม่มีตุ่มบนพื้นผิวหน้าท้องของแขนขาหน้า บริเวณเหงือก หรือในรอยพับของร่างกายบริเวณช่องท้อง ตุ่มสีขาวด้านหลังแถวยาวมีประมาณ 19–22 แถว จำนวนแถบลำตัวสีเข้ม เกล็ดหน้าท้อง 32–40 แถว ตุ่มหางขยายออกไป 1/8–1/10 ของส่วนหน้าของหาง ค้นพบที่ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
2. Cyrtodactylus wangkhramensis ตุ๊กกายถ้ำวังคราม
ไม่มีตุ่มบนพื้นผิวหน้าท้องของแขนขาหน้า บริเวณเหงือก หรือในรอยพับของร่างกายช่องท้อง เกล็ดหน้าท้อง 34–40 แถว ตุ่มสีขาวด้านหลังแถวยาวมีประมาณ
19–21 แถว ตุ่มหางยาวออกไป 1/5–1/7 ของส่วนหน้าของหาง ค้นพบที่ ถ้ำวังคราม ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
กลุ่มตุ๊กกาย เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีความแปรผัน (variation) ของรูปร่างในชนิดเดียวกันสูง (เพศ วัย) ทำให้ยากแก่การวินิจฉัยชนิด หากมองผ่าน ๆ อาจเข้าใจว่าเป็นชนิดที่เคยรายงานมาก่อนก็ได้ เนื่องจากมีสัณฐานวิทยาที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าตุ๊กกายเป็นสัตว์ที่มีชนิดซ้อนเร้นและความซับซ้อนของชนิดสูงมาก (highly cryptic and complex species) ดังนั้นอนุกรมวิธานเชิงบูรณาการ (integrative taxonomy ) จึงมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยเปิดเผยความลับทางธรรมชาติในครั้งนี้
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล เพจ Asesru, Kasetsart University, Thailand
เพจ การศึกษาถ้ำในประเทศไทย Speleological Research in Thailand
สามารถศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ https://zookeys.pensoft.net/article/109712/?mibextid=Zxz2cZ&fbclid=IwAR1B76UPADdFOw9hFBSYnMFKr5Ex37GfIHmAovl7PnArmfTRm5DmpXl1lrY