โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย (2561)
รายละเอียดโครงการ
- ที่มาความสำคัญ
การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินงานได้จริง ต้องมีการศึกษา ทบทวนทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ และระดับนานาชาติของประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ และวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ รวมทั้งมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เหมาะสมกับนโยบาย แผนงาน สถานการณ์ และทิศทางของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะมีความสำคัญในการบังคับใช้กฎ ระเบียบของแต่ละหน่วยงานให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันของประเทศไทย - วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อศึกษา ทบทวน และจัดทำเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันโดยกระบวนการมีส่วนร่วม
(๒) เพื่อจัดทำทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
(๓) เพื่อพัฒนากลไกในการบริหารจัดการ และการติดตามผลการดำเนินงานตามกลไกการบริหารจัดการที่ได้พัฒนาขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทย ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
(๔) เผยแพร่กระบวนการเรียนรู้ และความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำแก่ประชาชนทั่วไป - ผลผลิตของโครงการ
(๑) (ร่าง) หลักเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย
(๒) (ร่าง) ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทย
(๓) แผนที่ขอบเขตพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทย
(๔) (ร่าง) มาตรการและกลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและการติดตามตรวจสอบ
(๕) เอกสารเผยแพร่ เรื่อง รายงานสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย - ความร่วมมือ
– - พื้นที่ศึกษา
พื้นที่นำร่อง จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่
(๑) พื้นที่ชุ่มน้ำแอ่งเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
(๒) พื้นที่ชุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์
(๓) พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
(๔) พื้นที่ชุ่มน้ำหนองจำรุง จังหวัดระยอง
(๕) พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม
(๖) พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี - ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ - E-Mail/เว็บไซต์โครงการ
–