โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย : การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) (2564)
รายละเอียดโครงการ
- ที่มาความสำคัญ
เป็นการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ซึ่งมีเป้าหมายให้แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศมีระบบนิเวศและทัศนียภาพที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น และมีตัวชี้วัดสัดส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำและแหล่งน้ำที่ได้รับการฟื้นฟู (ร้อยละของพื้นที่เป้าหมาย) โดยภายในปี ๒๕๖๕ ให้ดำเนินการในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ความสำเร็จร้อยละ ๙๐ และตอบสนองต่อผลการประชุมสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำและแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ หากสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำได้รับความเสียหายจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ - วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อการจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
(๒) เพื่อจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ - ผลผลิตของโครงการ
๑) แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการฟื้นฟูและบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในเมืองของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒) หลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓) รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการพื้นที่แรมซาร์ไซต์ของประเทศไทย - ความร่วมมือ
– - พื้นที่ศึกษา
พื้นที่ตัวแทนพื้นที่ชุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๒ แห่ง คือ
๑) บึงราชนก จังหวัดพิษณุโลก
๒) อ่างเก็บน้ำหนองบัว จังหวัดมหาสารคาม - ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ - E-Mail/เว็บไซต์โครงการ
–