โครงการเสริมศักยภาพการจัดการระบบนิเวศป่าพรุ เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (Maximizing Carbon Sink Capacity and Conserving Biodiversity through Sustainable Conservation, Restoration, and Management of Peat Swamp Ecosystems)
รายละเอียดโครงการ
- ที่มาความสำคัญ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP – United Nations Development Programme) ดำเนินโครงการเสริมศักยภาพการจัดการระบบนิเวศป่าพรุ เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF – Global Environment Facility) ซึ่งได้มีการน้อมนำพระราชดาริในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมราชบพิตร ในการรักษาป่าพรุ ป้องกันไม่ให้ป่าพรุถูกทำลายมาปฏิบัติและดำเนินโครงการ โดยประสานความร่วมมือกับศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดคณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลป่าพรุทั่วประเทศ และเลือกพื้นที่โครงการนำร่องอนุรักษ์ป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช มุ่งหวังผลลัพธ์ให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าพรุ เพิ่มศักยภาพป่าพรุในการทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอนและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำหรับพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีความสำคัญระดับโลก อีกทั้งยังเป็นเเหล่งให้บริการระบบนิเวศรวมทั้งส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนในท้องถิ่น - วัตถุประสงค์
เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าพรุ เพื่อเพิ่มศักยภาพของพื้นที่พรุในการทำหน้าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำหรับพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีความสำคัญระดับโลก แหล่งกักเก็บคาร์บอน และแหล่งบริการทางนิเวศที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชนท้องถิ่น - ผลผลิตของโครงการ
1) การเพิ่มศักยภาพในการคุ้มครองป่าพรุที่มีคุณค่าการอนุรักษ์สูง และพัฒนาต้นแบบการใช้ประโยชน์ป่าพรุอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2) การนำร่องนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เพื่อลดการเสื่อมโทรมและระบบนิเวศป่าพรุ
3) การพัฒนากลไกและยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศป่าพรุอย่างยั่งยืน - ความร่วมมือ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF)
ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - พื้นที่ศึกษา
ป่าพรุครวนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช - ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ปี พ.ศ. 2559 – 2564