ครั้งที่ 3/2557
การประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 3/2557
(1 ธันวาคม 2557)
หัวข้อวาระ | มติที่ประชุม |
---|---|
เรื่องเพื่อทราบ | |
1. รายงานผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 12 ระหว่างวันที่ 6 – 17 ตุลาคม 2557 ณ สาธารณรัฐเกาหลี | รับทราบ |
2. รายงานผลการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ สมัยที่ 7 ระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 3 ตุลาคม 2557 ณ สาธารณรัฐเกาหลี | รับทราบ |
3. รายงานผลการประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม สมัยที่ 1 ระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2557 ณ สาธารณรัฐเกาหลี | รับทราบ |
4. (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพว่าด้วยการรับผิดและชดใช้ความเสียหายจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน | รับทราบ |
เรื่องเพื่อพิจารณา | |
1. (ร่าง) แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558 – 2564 | เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 พร้อมทั้ง (ร่าง) เป้าหมายระดับชาติ และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2559 โดยให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการ ดังนี้ 1. ปรับถ้อยคำในแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 ตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของ กอช. ให้ชัดเจน 2. ปรับช่วงระยะเวลา (phase) ในการดำเนินงานตามเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำมาตรการตามแผนแม่บทมาใส่ให้สอดคล้องกับช่วงระยะเวลาของเป้าหมายฯ 3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับเพิ่มเติมแผนงาน/โครงการใน (ร่าง) แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2559 4. จัดทำเรื่องนำเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนธันวาคม 2557 เพื่อพิจารณามอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป |
2. การเข้าเป็นภาคีพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม | 1. เห็นชอบให้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรม และเท่าเทียม โดยในระหว่างการดำเนินงานตามแผนให้คำนึงถึง 1.1 กฎหมายภายในประเทศที่สามารถดำเนินการได้ตามพิธีสารนาโงยาฯ 1.2 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องและผลกระทบที่อาจจะมีต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศไทย 1.3 ผลกระทบของพิธีสารนาโงยาฯ ในประเด็นข้อกีดกันทางการค้า 2. ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานของหน่วยงาน ต่อ กอช. ในการประชุมครั้งต่อไป |
3. การเข้าเป็นภาคีพิธีสารเสริมนาโงยา–กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดใช้ตามพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ | เห็นชอบกับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเสริมนาโงยา–กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดใช้ ตามพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยเห็นควรให้ดำเนินการเมื่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. …. มีผลบังคับใช้แล้ว |
4. พระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. …. | 1. เห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการแจ้งยืนยันความเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. …. ต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2. เห็นชอบให้กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบตาม (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. …. รวม ๙ หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้เพื่อให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผู้รักษาการกฎหมายสามารถชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่มีหน้าที่กำกับดูแลสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมแต่ละประเภทภายใต้ (ร่าง) พระราชบัญญัตินี้ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า (ร่าง) พระราชบัญญัตินี้ จะมีการดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการเพื่อเพิ่มหน่วยงานในคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ 2 หน่วยงาน คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมศุลกากร ทั้งนี้ กอช. ได้ให้การรับรองมติที่ประชุมดังกล่าว ในที่ประชุมแล้ว |
5. ปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ | เห็นชอบ ให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้เพิ่มเติมองค์ประกอบคณะอนุกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ ผู้แทนกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้แทนกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ผู้แทนสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) และผู้แทนกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และให้ปรับชื่อองค์ประกอบในลำดับที่ 1.18 ให้มีความถูกต้อง จาก ผู้แทนมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นผู้แทนมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทั้งนี้ กอช. ได้ให้การรับรองมติที่ประชุมดังกล่าว ในที่ประชุมแล้ว |