สผ. จัดกิจกรรมวันจัดการความรู้และนวัตกรรม สผ.
“ONEP KM Innovation Day”

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 ณ บริเวณห้องประชุม ชั้น 10 อาคารทิปโก้ 2

กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าร่วมกิจกรรมในหัวข้อ “BD Galaxy”
ลำนำรักษ์ พิทักษ์ ดาราจักรความหลากหลายทางชีวภาพ
หาก สผ. เป็นจักรวาลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ…ก็เป็นกาแล็คซี่หนึ่งในจักรวาลนี้
มีดาวเคราะห์น้อยใหญ่เชื่อมโยง โคจร วนเวียนอยู่ใน กาแล็คซี่ความหลากหลายทางชีวภาพ


KM-GBF นำเสนอการดำเนินงานตามกรอบงานคุนหมิง-มอลทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
โดยมี 23 เป้าหมายโลก เพื่อปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน มีความจำเป็นต้องเริ่มดำเนินงานทันทีและต้องแล้วเสร็จภายใน
ปี ค.ศ. 2030 เพื่อให้ผลการดำเนินงานนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกันและส่งผลต่อความสำเร็จของเป้าประสงค์ในปี ค.ศ. 2050

OECMs เพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง โดยพัฒนาหลักเกณฑ์ จำแนก และระบุพื้นที่
ที่มีศักยภาพ คัดเลือก เสนอ ขึ้นทะเบียน และติดตามตรวจสอบและประเมินผล และระบบการรายงาน

30×30 เพิ่มพื้นที่คุ้มครองตามกฎหมายทั้งบนบกและทะเล ร้อยละ 30

TH-Red Data ลดอัตราการสูญเสียสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคาม ทะเบียนสถานภาพสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามของประเทศไทย

Invasive Alien Species (IAS) กำหนดรายการ จัดลำดับความสำคัญและจัดทำแผน การจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานมีลำดับ
ความสำคัญสูงของประเทศไทย

NBSAPs จัดทำ และปรับปรุง NBSAPs ทุก 5 ปี และพัฒนาระบบติดตามประเมินผลแผน NBSAPs และ LBSAPs

TH-BIF พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบศูนย์ข้อมูลกลางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ และเชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานเป้าหมายให้ครบ 32 หน่วยงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ในปี 2570

Nature- based Solution (NbS) กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ คู่มือ ในการส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน

Biodiversity credit พัฒนาเครื่องมือและกลไกเพื่อระดมทุนเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย

Iconic species จัดทำหลักเกณฑ์ มาตรการและทะเบียนชนิดพันธุ์โดดเด่นในระบบนิเวศที่สำคัญของประเทศไทย
เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่ายั่งยืน