สผ. ร่วมกับ GIZ จัดประชุมเผยแพร่สรุปการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (COP 15) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง “COP15 Debriefing: Towards a Nature-Positive World”
สผ. ร่วมกับ GIZ จัดประชุมเผยแพร่สรุปการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (COP 15) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง “COP15 Debriefing: Towards a Nature-Positive World”
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดการประชุมเผยแพร่สรุปการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (COP 15) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง “COP15 Debriefing: Towards a Nature-Positive World” ณ ห้องคาร์ลตันแกรนด์บอลรูม ชั้น 9 โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดเนื้อหาสาระสำคัญจากการประชุม COP 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่จัดขึ้น ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 7 -19 ธันวาคม 2565 และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในทุก ๆ ระดับ และสร้างความเข้าใจในวงกว้าง รวมถึง ทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานในอนาคต โดย ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สผ. เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Tackling Biodiversity & Climate Crises Together” และนาย Hans-Ulrich Südbeck อุปทูตและหัวหน้าแผนกเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย และนาย Reinhold Elges ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทย มาเลเซียและเนปาล กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเยอรมันในประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายสรุปผลการประชุม COP 15 และการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติในระดับประเทศ (From COP 15 to Thailand’s Biodiversity Action) โดย ดร. จิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และ ดร. วิเทศ ศรีเนตร ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้โครงการ Climate, Coastal and Marine Biodiversity (CCMB project) ที่ สผ. ดำเนินการร่วมกับ GIZ เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติในระยะยาว ให้สอดคล้องกับกรอบงานคุนหมิง – มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก รวมถึงการเสวนาในหัวข้อ “Biodiversity Challenges Toward 2030” เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นจากนักวิชาการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่คุ้มครองทางบกและทางทะเล 30×30 ข้อมูลดิจิทัลของลำดับพันธุกรรม (Digital Sequence Information: DSI) โอกาสและความท้าทายในการดำเนินงานของภาคการเงินและการธนาคารในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และความสำคัญของวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองในการเป็นหุ้นส่วนด้านการอนุรักษ์ ทั้งนี้ การประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา นักเรียนและนักศึกษา ภาคประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรอิสระ จำนวนกว่า 250 คน เข้าร่วมงาน
#GIZ#ONEP #COP15 Debrief
#Biodiversity German Embassy Bangkok